แผนที่มหาสารคามสู่สุรินทร์
ดู มหาสารคามสู่สุรินทร์ ในแผนที่ขนาดใหญ่กว่า
สวนดอกไม้ที่มมส.ค่ะ
My pictures
สุริวรรณ
เพลงที่ชอบ
วันอังคารที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2553
นกกระจาบทอง
นกกระจาบทอง, เต็งครู
ชื่อสามัญ Golden Weaver
ชื่อวิทยาศาสตร์ Ploceus hypoxanthus
วงศ์ Ploceidae
ลักษณะทั่วไป
นกกระจาบทองในฤดูธรรมดาตัวผู้และตัวเมียจะมีสีลายเหมือนกัน คือ สีพื้นทั่วไปจะเป็นสีน้ำตาล ท้องจะมีสีน้ำตาลอ่อน ปีกและหางจะมีสีน้ำตาลเข้ม ลายขนหัว บนหลัง บนปีก คิ้ว จะเป็นสีน้ำตาลอ่อน ปากจะหนาสีน้ำตาลกว้างและสั้น ส่วนตัวผู้ในฤดูผสมพันธุ์ หัวจนถึงต้นคอ หน้าอกท้องและหลังส่วนโคนหาง จะเป็นสีเหลืองทอง แก้มใต้คอจะเป็นสีดำน้ำตาล ปากเป็นสีเทาเข้มปลายหางขาวนิดๆ ลายบนหลังและบนปีกเป็นสีเหลืองชัดเจน ม่านตาเป็นสีน้ำตาลแดง ตีนสีชมพูอมน้ำตาล
รัง
จะมีลักษณะกลมๆ สอดสานอยู่ระหว่างต้นกก ในกก และใบหญ้าคา เหมือนลูกมะพร้าว มีรูเข้าออกหนึ่งทาง ส่วนใหญ่จะทำรังอยู่ในกอกก โดยเฉพาะกกธูปอยู่กลางหนอง ทำรังจะอยู่เหนือน้ำประมาณเมตรครึ่งถึงสองเมตร
ถิ่นที่อยู่อาศัย
จะอาศัยอยู่ตามพื้นที่ราบลุ่มภาคกลาง รังสิต อยุธยา นครนายก สมุทรปราการ นครปฐม สุพรรณบุรี สิงห์บุรี ชัยนาท จนถึงนครสวรรค์ เป็นนกประจำถิ่นและเฉพาะถิ่น
อดีตและปัจจุบัน
ในอดีตมีอยู่มากมาย แต่ปริมาณก็ยังน้อยกว่านกกระจาบธรรมดา ปัจจุบันนี้หาดูได้น้อยมากถ้าไม่สังเกตจริงๆจะไม่พบ ยังจะพอหาดูได้ในแถบชานเมือง เช่น สองฟากทางถนนสายปทุมธานี-บางไทร, บางบัวทอง-สุพรรณบุรี, วัดตาลเอน, วังน้อย, สามหลั่น เป็นต้น
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น