คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

แผนที่มหาสารคามสู่สุรินทร์


ดู มหาสารคามสู่สุรินทร์ ในแผนที่ขนาดใหญ่กว่า

สวนดอกไม้ที่มมส.ค่ะ

My pictures

สุริวรรณ

เพลงที่ชอบ

วันเสาร์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2553

ปลาปักเป้า


ปลาปักเป้า

หรือ Puffer fish เป็นปลาที่หาได้ในน้ำจืดและ น้ำเค็ม พบได้ทั่วไปในประเทศที่มีอากาศร้อนและอบอุ่น ในประเทศไทย พบปลาปักเป้าน้ำจืดได้ตามแหล่งน้ำต่าง ๆ เช่นตามหนอง คลอง บึงและตามแม่น้ำ สายต่าง ๆ ที่พบเห็นคือ ปลาปักเป้าเขียว ปลาปักเป้าเหลืองปลาปักเป้าทอง ส่วนปลาปักเป้าหนามทุเรียน ปลาปักเป้าหลังแดง ปลาปักเป้าหลังแก้ว ปลาปักเป้าดาว ฯลฯ เป็นปลาปักเป้าทะเล พบได้ในอ่าวไทยปลาปักเป้าเป็นปลาที่มีขนาดปานกลางถึงขนาดใหญ่ ยาวประมาณ 10-40 เซนติเมตร พบทั้งในน้ำจืดและน้ำทะเล มีลักษณะเฉพาะตัว คือ ลำตัวกลม ยาว หัวโต และปากเล็ก บางชนิดมีฟันและปากคล้ายนกแก้ว ครีบอกและครีบหางใหญ่ ครีบหลังและครีบกันเล็ก หนังเหนียว ส่วนมากมีตุ่ม หรือหนามกระจายทั่วตัว ปลาปักเป้าจะพองตัวเมื่อตกใจหรือถูกรบกวน มักอาศัยอยู่ตามท้องทะเลที่เป็นทรายหรือทรายปนโคลน


แมงกระพรุน


แมงกะพรุน
แมงกะพรุนเป็นสัตว์ประเภทหนึ่งที่ไม่มีกระดูกสันหลัง ส่วนใหญ่จะอยู่ในทะเล แต่ก็มีบางชนิดที่อยู่ในน้ำจืด แมงกะพรุนเป็นสัตว์ในพวกเดียวกับปะการัง มีเซลล์ที่ใช้ต่อยและมีพิษมากกว่าปะการังมากด้วย แมงกะพรุนบางชนิดอาจทำให้ผู้ถูกต่อยถึงช็อคเสียชีวิตได้ แม้จะพบแมงกระพรุนตายติดตามชายหาดก็ไม่สมควรจะนำมาเล่น เพราะพิษยังอาจจะมีอยู่และทำให้เกิดอันตรายได้ เมื่อถูกแมงกะพรุนอาจจะมีสายหนวดของแมงกะพรุนติดอยู่ ต้องรีบแกะออกโดยเร็ว แต่อย่าใช้มิเปล่าเพราะมือจะถูกต่อยได้ด้วย ให้ใช้ผ้าหนา ๆ เศษไม้ ทรายแห้ง ๆ หรือแป้งผงถูเบา ๆ ให้หลุดออก อย่าถูแรงเพราะถุงบางอันยังไม่คายพิษ ถ้าถูแรงจะทำให้พิษถูกปล่อยออกมาเพิ่มขึ้น แล้วล้างบริเวณนั้นเบา ๆ ด้วยน้ำทะเล น้ำมันแอลกอฮอล์ แอมโมเนีย หรือโลชั่นที่หาได้ใกล้ตัว ชาวบ้านใช้ผักบุ้งทะเล ทั้งนี้ทำให้สภาพพิษซึ่งส่วนใหญ่เป็นโปรตีนเสื่อมลง เมื่อถูกแมงกะพรุนแล้วให้ขึ้นจากน้ำทันที เพราะถ้าเกิดอาการรุนแรงจะทำให้จมน้ำตายได้

ปูเสฉวนบก


ปูเสฉวนบก (Land hermit crab)

เป็นปูเสฉวนในสกุล Coenobita มีทั้งหมด 15 ชนิด ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 5 นิ้ว มีรูปร่างหน้าตาคล้ายปูเสฉวนทั่วไป และอาศัยอยู่ในเปลือกหอย แต่ไม่สามารถที่จะอาศัยอยู่ในน้ำได้ เนื่องจากระบบการหายใจถูกพัฒนาให้รับออกซิเจนโดยตรง ถ้าลงไปในน้ำจะสำลักน้ำตายได้เหมือนปูมะพร้าว (Birgus latro) แต่จะลงไปกินน้ำทะเลเพื่อต้องการเกลือแร่ อีกทั้งยังต้องการน้ำจืดอีกด้วย
ปูเสฉวนบกมีถิ่นกำเนิดที่
ทวีปอเมริกาเหนือ, ทะเลแคริบเบียน, หมู่เกาะเบอร์มิวดา, ออสเตรเลียและอินโดนีเซีย จะอาศัยอยู่บนบกหรือในป่าริมชายทะเล กินอาหารจำพวกซากพืช ซากสัตว์เหมือนปูเสฉวนทั่วไป
ปัจจุบันปูเสฉวนบกกำลังได้รับความนิยมในฐานะเป็นสัตว์เลี้ยง โดยเฉพาะใน
สหรัฐอเมริกา ซึ่งผู้เลี้ยงนิยมใช้สีทาบนเปลือกหอยให้เป็นสีสันและลวดลายต่าง ๆ แต่เป็นปูที่ค่อนข้างมีความยุ่งยากในการเลี้ยง เนื่องจากถึงแม้ว่าจะอาศัยอยู่บนบกก็ตาม แต่ในสถานที่เลี้ยงต้องใช้ความชุ่มชื้นด้วย และปูพื้นด้วยกรวดทรายและขอนไม้ หรือมะพร้าวผุ และมีความจำเป็นต้องใช้แคลเซี่ยมเพื่อเป็นแร่ธาตุด้วย ไม่เช่นนั้นอาจตายได้


ม้าน้ำ


ม้าน้ำลักษณะพิเศษคือลำตัวไม่มีเกล็ดชื่อวิทยาศาสตร์ : Hippocampus kuda Bleekerชื่ออังกฤษ : Sea Horseวงศ์ : SYNGNATHIDAE ลักษณะโดยทั่วไป : ม้าน้ำเป็นสัตว์ที่มีฉายาว่า"นักอำพรางตัวยง" เพราะสามารถอำพรางตัวให้กลมกลืนกับสิ่งแวดล้อมที่อยู่ได้ ม้าน้ำเป็นสัตว์เลือดเย็น มีกระดูกสันหลัง หายใจทางเหงือก จัดอยู่ในกลุ่มปลาทะเลแต่มีรูปร่างแตกต่างไปจากปลาชนิดอื่น ๆ มากและมีวงจรชีวิตที่ต่างกัน ส่วนหัวจะมีลักษณะเหมือนม้าที่มีปากยาวยื่นออกไปเป็นท่อ ลำตัวปกคลุมด้วยเปลือกแข็งเป็นข้อ ๆ ขณะว่ายน้ำหรือเกาะกับที่จะตั้งลำตัวขึ้นและเอาส่วนท้องยื่นไปทางด้านหน้า ครีบหูบางใสอยู่ทางด้านหลังของแก้มและมีครีบหลัง 1 อัน ครีบหางไม่มีแต่ได้เปลี่ยนแปลงไปเป็นหาง ม้วนงอสำหรับเกี่ยวจับวัตถุในน้ำหรือเกาะกันขณะผสมพันธุ์ ความยาวของหางเมื่อเหยียดตรงจะยาวประมาณ 25 เซนติเมตร พื้นผิวลำตัวมีสีดำหรือสีเหลืองหรือม่วงและสามารถเปลี่ยนสีได้ ตัวผู้จะมีลักษณะที่ต่างจากตัวเมียคือมีถุงหน้าท้อง (brood pouch) สำหรับฟักไข่เป็นตัวและทำหน้าที่คลอดลูกแทนตัวเมีย ที่อยู่อาศัย:ม้าน้ำอาศัยอยู่ตามเสาโป๊ะหลักหอยแมลงภู่หรือตามดงสาหร่ายบริเวณชายฝั่งม้าน้ำที่พบบริเวณชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกของอ่าวไทย คาดว่าน่าจะมีอยู่ 4 ชนิดคือ 1. ม้าน้ำหนาม (H. spinosissimus )อาศัยอยู่ในบริเวณน้ำค่อนข้างลึก ใสสะอาด เป็นม้าน้ำที่มีสีสันสวยงาม สีออกน้ำตาลแดง มีลายจุดสีออกขาว เป็นแถบกว้างคาดบริเวณลำตัว มีหนามมากค่อนข้างแหลมและยาว เป็นที่ชื่นชอบของนักดำน้ำและนักสะสมของที่ระลึก


เครย์ฟิช..ล็อบสเตอร์น้ำจืด สัตว์เลี้ยงยอดฮิตของวััยรุ่น


เป็นกุ้งน้ำจืดจำพวกหนึ่ง มีลำตัวใหญ่ เปลือกหนา ก้ามใหญ่ และแข็งแรง แบ่งออกเป็น 2 วงศ์ใหญ่ๆ คือ Astacoidea และวงศ์ Parastacoidea
ถิ่นกำเนิดใน ทวีปอเมริกาเหนือ, ทวีปยุโรป ออสเตรเลีย และ เอเชียตะวันออก ปัจจุบันมีการอนุกรมวิธานแล้วกว่า 500 ชนิด…ลักษณะของเครย์ฟิช แบ่งออกได้เป็น 3 ส่วน คือ ส่วนหัว ส่วนกลาง และส่วนท้อง ซึ่งเป็นส่วนที่มีเนื้อเยอะมากที่สุด ลำตัวจะถูกหุ้มด้วยเปลือกใช้สำหรับป้องกันศัตรู และ มีอวัยวะหายใจลักษณะคล้ายขนนก อยู่ใกล้บริเวณปาก
ในส่วนของขานั้นแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ขาเดิน ซึ่งมีด้วยกันทั้งหมด 5 คู่ โดยคู่แรกนั้นถูกพัฒนาจนกลายเป็นก้าม ใช้สำหรับหยิบจับอาหาร ใช้ต่อสู้ และ ขาว่ายน้ำ จะมีลักษณะเป็นแผ่นบางๆ มีไว้สำหรับโบกน้ำที่มีออกซิเจนเข้าสู่ร่างกาย รวมทั้งโบกพัดแพลงก์ตอนเข้าหาตัวเพื่อกินเป็นอาหารอีกด้วย
มักอาศัยอยู่ตามแหล่งน้ำที่มี ลักษณะน้ำใสสะอาด มีออกซิเจนสูง โดยจะซ่อนตัวอยู่ตามขอนไม้หรือหินใต้น้ำ กินอาหารได้หลากหลายทั้งพืชและสัตว์ ออกหากินในเวลากลางคืน เมื่ออิ่มแล้วจะ เว้นระยะไปราว 1-2 วัน จึงออกหากินอีกครั้ง มีอาณาเขตของตัวเอง ประมาณ 40 เซนติเมตร
เครย์ฟิช…ในวัยอ่อน จะมีระยะการลอกคราบบ่อยครั้ง โดยจะมี อัตราเฉลี่ยอยู่ที่หนึ่งครั้งต่อหนึ่งเดือน เมื่ออายุได้ 1 ปี การลอก คราบจะ ลดลงเหลือเพียงปีละครั้ง ซึ่งแต่ละครั้งใช้ เวลานานราว 2-3 วัน กว่าเปลือกใหม่ที่ได้นั้นจะแข็งแรงเท่าเดิม บางครั้งมันอาจมีพฤติกรรม กินเปลือกตัวเอง ที่ลอกออก หรือของตัวอื่น เพราะต้องการแคลเซียมเพื่อสร้างเปลือกใหม่ให้แข็งแรง…
การจำแนกเพศนั้น ตัวผู้จะใหญ่กว่าตัวเมียอย่างเห็นได้ชัดเจน โดยจะมีอวัยวะสืบพันธุ์อยู่บริเวณโคนขาคู่สุดท้าย ส่วนตัวเมียจะมีอวัยวะสืบพันธุ์ลักษณะเป็นแผ่นวงรีสีขาว ขนาดประมาณ 1-2 มิลลิเมตร บริเวณขาเดินคู่ที่ 3 ในการผสมพันธุ์…ตัวผู้จะประกบตัวเมียจากด้านหลัง และพลิกท้องตัวเมียให้หงายแล้วตัวผู้จะเข้าประกบโดยใช้อวัยวะที่คล้ายตะขอนั้นจับตัวเมียในลักษณะท้องชนท้อง หันหัวไปในทางเดียวกัน ตัวผู้จะส่งผ่านถุงน้ำเชื้อไปปะติดไว้กับท้องของตัวเมีย
หลังจากนั้นเมื่อไข่ได้รับการปฏิสนธิจากน้ำเชื้อแล้ว ไข่จะฟักเป็นตัวในเวลาราว 3-4 สัปดาห์ โดยตัวเมียจะอุ้มไข่ไว้ในช่องท้อง ไข่มีลักษณะวงกลมสีดำคล้ายเมล็ดพริกไทยดำ ในการผสมพันธุ์แต่ละครั้งอาจได้ ลูกเครย์ฟิชมากถึง 300 ตัว
ปัจจุบันกลายเป็น…สัตว์เลี้ยงที่วัยรุ่นนิยม…นำมาเลี้ยงในตู้ปลา และมีการพัฒนาสายพันธุ์จนมีสีสันที่หลากหลาย เช่น สีฟ้า น้ำเงิน น้ำเงินเข้ม ขาว ส้ม และ แดงเข้ม เป็นต้น

‘ชินชิล่า’


ชินชิล่า’สัตว์ตระกูลฟันแทะ ขนปุย ชอบอากาศเย็นสบาย
เป็นสัตว์เมืองหนาว ลักษณะโดยทั่วไป หู จะกางใหญ่คล้ายหนู รูปร่างคล้ายกับกระต่าย ขน แน่นหนา มีหลากหลายสีสัน..
หลายวันก่อน “หลายชีวิต” ไปเดินตลาดนัดสวนจตุจักร โซนสัตว์เลี้ยงเพื่อ “อัพเดท” ข้อมูลว่าช่วงนี้เป็นอย่างไรแล้วก็ต้องยอมรับว่าที่นี่มี “สารพัดสัตว์” มากมายทั้งกลุ่ม “เลือดอุ่น” และ “เลือดเย็น” ที่เกิดในบ้านเรากับ “อิมพอร์ต” เข้ามาอย่างไม่ขาดสาย และ “ชินชิล่า” สัตว์ตระกูลฟันแทะที่กำลังเป็นขวัญใจวัยจ๊าบ ก็เป็นหนึ่งในจำนวนนี้
“ชินชิล่า” (Chinchilas) เป็นสัตว์เมืองหนาว มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ในเทือกเขา Andes แถบทวีปอเมริกาใต้ ซึ่งมี 2 ชนิดคือ Chinchilla brevicaudata กลุ่มนี้มีลักษณะหูและหางจะสั้น คอและไหล่จะหนา แต่ทว่าได้สูญพันธุ์ไปแล้ว
ส่วนชนิดที่ 2 คือ Chinchilla lanigera ยังสามารถพบได้ในป่าจำนวนเล็กน้อย แต่ก็นับว่าเป็นความโชคดีที่ปัจจุบันกลุ่มผู้เลี้ยงสามารถเพาะพันธุ์พวกมันได้เป็นผลสำเร็จ
สำหรับลักษณะโดยทั่วไป หู จะกางใหญ่คล้ายหนู รูปร่างคล้ายกับกระต่าย ขน แน่นหนา มีหลากหลายสีสันเช่น เทา เทาอ่อน ดำ เพื่อป้องกันตัวเองจากอากาศหนาวเย็นบนเทือกเขาสูง อุ้งเท้า ธรรมชาติสร้างมาเพื่อเหมาะต่อการเดินบนแผ่นหิน หาง ยาวเป็นพวงคล้ายกระรอก
ในธรรมชาติเป็นสัตว์สังคม รักความสงบอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ซึ่งความสามารถในการได้ยินนั้นใกล้เคียงกับคนเรามาก และหากพวกมันได้ยินการเคลื่อนไหวจากศัตรูตัวร้ายอย่าง เหยี่ยว สกังค์ แมวป่า และสัตว์กินเนื้ออื่นๆ จะส่งเสียงออกมาทั้งเห่า ร้อง และเสียงเอี๊ยดๆ คล้ายเสียงเปิดบานพับของประตู หรือหน้าต่าง เพื่อให้สมาชิกได้รับรู้
และ…ด้วยธรรมชาติที่เป็นสัตว์ฟันแทะ ดังนั้น จึงเป็นธรรมดาที่จะมี นิสัยซุกซน ซอกแซก ช่างสำรวจ ร่าเริง ขี้เล่น กระปรี้กระเปร่า คึกคักชอบกระโดด อยู่ตลอดเวลา ทำความสะอาดขนด้วยการกลิ้งไปมาบนทรายหรือฝุ่นหิน เพื่อไม่ให้มีกลิ่นตัว…
พวกมันจะพักผ่อนนอนหลับกลางวัน หลังตะวันเริ่มอ่อนแสงยามเย็นจะออกจากที่พัก ซึ่งเป็นโพรงหรือรอยแยกของหิน เพื่อออกหากินหญ้าแห้ง เมล็ดพืชเล็กๆ และแมลง เป็นอาหาร ซึ่งบางครั้งอาจเห็นร่องรอยการกัดแทะทิ้งประปราย นั่นก็เพราะมันกำลัง “ลับฟัน” ให้คมนั่นเอง
“ขนปุย” โตเต็มที่มีน้ำหนักตัวเฉลี่ยอยู่ที่ 400-600 กรัม ตัวเมียมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้ ซึ่งการจับคู่นั้น ฝ่ายหนุ่มจะเป็นผู้เลือกเอง

ปลาโลมา


โลมา อาศัยอยู่ กระจัด กระจาย ทั่วไป ใน มหาสมุทร นับร้อยชนิด แต่ที่เรารู้จัก กันดี มีอยู่ ๒ ชนิด คือ โลมาปากขวด กับ โลมาหัวบาตร โดยเฉพาะ ใน ประเทศไทย
บางครั้งยังพบโลมาอยู่ใน แม่น้ำอีกด้วย เช่น ในแม่น้ำ คงคาที่ประเทศอินเดีย และใน แม่น้ำโขง เป็นโลมาหัวบาตร น้ำจืด
โลมา มีอวัยวะต่างๆทุกๆ ส่วน เหมือนกับสัตว์เลี้ยงลูก ด้วยนมทั่วไป หากแต่ละส่วนของ อวัยวะ จะปรับเปลี่ยน ต่างไป จากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ทั่วไป ดังนี้
จมูกโลมามีจมูกไว้หายใจ แต่จมูกนั้นต่างไป จากจมูก ของสัตว์ อื่นๆ เพราะตั้งอยู่ กลาง กระหม่อม เลยทีเดียว เพื่อให้สะดวกต่อการ เชิด หัวขึ้น หายใจเหนือน้ำ จากจมูก มีท่อ หายใจ ต่อลงมา ถึงปอด ในตัว จึงไม่จำเป็น ต้องให้น้ำ ผ่านเหงือก เข้าไป ในปอด เพื่อช่วยหายใจ เหมือนปลาทั่วไป
หู หูของโลมานั้นเป็น เพียงแค่รูเล็กจิ๋วติดอยูด้าน ข้างของหัวเท่านั้น แต่หูของ โลมา มีประสิทธิภาพสูงมาก รับคลื่นเสียง ใต้น้ำ ได้อย่าง ยอดเยี่ยม โดยเฉพาะกับ ภาษา ที่โลมา สื่อสารกัน ด้วยเสียง ที่มี คลื่นความถี่สูง
การมองเห็นโลมามีดวงตา แจ่มใส เหมือนตา สัตว์เลี้ยงลูก ด้วยนม มีเปลือกตา ปิดได้ และในเวลา กลางคืน ตาก็จะเป็น ประกาย เหมือนตาแมว ตาของโลมา ไม่มีเมือกหุ้ม เหมือนตาปลา และมองเห็น ได้ไกลถึง ๕๐ ฟุต เมื่ออยู่ในอากาศ
สีผิวสีผิว ของโลมา แต่ละชนิด จะแตกต่างกัน ส่วนมาก จะออก ไปในโทน สีเทา ตั้งแต่เข้ม เกือบดำ จนกระทั่ง ถึงเกือบขาว แต่โดยทั่วไป ปลาโลมาจะมีสีผิว แบบทูโทนคัลเลอร์ คือมีสองสี ตัดกัน ด้านบน เป็นสีเทาเข็ม ด้านล่าง เป็นสีเกือบขาว เพื่อพรางตัว ในทะเล ไม่ให้ ศัตรูเห็น เพราะเมื่อ มองจาก ด้านบน สีเข็มจะกลืน กับสีน้ำทะเล และถ้า มองจาก ด้านล่าง ขึ้นไป สีขาว ก็จะกลืน เข้ากับ แสงแดด เหนือผิวน้ำ

ฉลามเสือ


ปลาฉลามเสือ

ปลากระดูกอ่อนขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง จำพวกฉลาม มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Galeocerdo cuvier ในวงศ์ Carcharhinidae เป็นปลาเพียงชนิดเดียวในสกุล Galeocerdo มีรูปร่างอ้วนป้อม ปากกว้าง ปลายปากสั้นและทู่ ลำตัวเรียวไปทางปลายหาง คอดหางมีสันชัดเจน ครีบหางเรียวและมีปลายแหลม มีฟันใหญ่เป็นรูปสามเหลี่ยม มีขอบหยักเป็นจักคล้ายฟันเลื่อย พื้นลำตัวและครีบสีน้ำตาลหม่น มีลายพาดขวางตลอดข้างหลังและหางคล้ายลายของเสือโคร่ง จึงเป็นที่มาของชื่อเรียก ซึ่งลายนี้อาจแตกเป็นจุดกระจายอยู่ทั่วไปหรือจางหมดไปเมื่อโตขึ้น ท้องมีสีจาง
ปลาฉลามเสือเมื่อโตเต็มที่มีขนาดประมาณ 5
เมตร แต่ตัวที่ใหญ่ที่สุดที่เคยพบคือ 7 เมตร น้ำหนักหนักที่สุดคือ 807.4 กิโลกรัม พบกระจายว่ายหากินอยู่ทั่วไปในน่านน้ำเขตอบอุ่นทั่วโลก มีพฤติกรรมชอบหากินตามแนวปะการังหรือบริเวณใกล้ชายฝั่ง หรือบริเวณปากแม่น้ำ โดยอาศัยตั้งแต่ระดับผิวน้ำจนถึงความลึก 140 เมตร ปกติมักอยู่ลำพังเพียงตัวเดียวและหากินในเวลากลางคืน ว่ายน้ำได้คล่องแคล่วว่องไวมาก มีอาณาเขตในการหากินกว้าง 100 ตารางกิโลเมตร โดยที่อาหารได้แก่ ปลาและสัตว์น้ำชนิดต่าง ๆ เช่น เต่าทะเล รวมทั้งสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมในทะเล เช่น แมวน้ำ หรือ สิงโตทะเล ด้วย
ปลาฉลามเสือได้ชื่อว่าเป็นปลาที่กินไม่เลือกเหมือนเช่น
ปลาฉลามขาว (Carcharodon carcharias) เพราะมักเจอสิ่งที่ไม่ใช่อาหารในกระเพาะเสมอ ๆ เช่น ยางรถยนต์, กระป๋องน้ำ, เศษไม้ หรือ พลาสติก ซึ่งล้วนแต่เป็นขยะที่มนุษย์โยนทิ้งลงทะเลทั้งสิ้น
ปลาฉลามเสือ เป็นปลาที่ออกลูกเป็นตัว ในระยะเวลาตั้งท้องนานเกือบหนึ่งปี สามารถตกลูกได้ตลอดทั้งปี โดยเฉลี่ยจะตกลูกครั้งละ 10-82 ตัว ลูกปลาแรกเกิดมีความยาวประมาณ 51.76
เซนติเมตร เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุได้ 4-6 ปี อายุขัยโดยเฉลี่ย 12 ปี แต่อายุในสถานที่เลี้ยงมักจะมีอายุเพียงสั้น ๆ ไม่เกิน 2 เดือนเท่านั้น
ปลาฉลามเสือ นับได้ว่าเป็นปลาฉลามอีกชนิดหนึ่งที่มีอันตรายต่อมนุษย์ เพราะมีนิสัยดุร้ายและมีพฤติกรรมการกินที่ไม่เลือก ในพื้นที่ทะเลของ
ไทยนับได้ว่าเป็นปลาฉลามที่อาจทำร้ายมนุษย์หรือนักดำน้ำได้ร่วมกับ ปลาฉลามหัวบาตร (Carcharhinus leucas) และ ปลาฉลามครีบดำ (C. melanopterus)
ปลาฉลามเสือ มีชื่อเรียกอื่น ๆ ใน
ภาษาไทยอีก เช่น "ตะเพียนทอง", "พิมพา" หรือ "เสือทะเล" เป็นต้น


ฉลามวาฬ


ปลาฉลามวาฬ (อังกฤษ: Whale shark) เป็นปลาฉลามเคลื่อนที่ช้าที่กินอาหารแบบกรองกิน เป็นปลาขนาดใหญ่ที่สุด ยาวถึง 12.65 ม. หนัก 21.5 ตัน แต่มีรายงานที่ไม่ได้รับยืนยันว่ายังมีปลาฉลามวาฬที่ใหญ่กว่านี้ เป็นปลาชนิดเดียวในสกุล Rhincodon และวงศ์ Rhincodontidae (ก่อนปี ค.ศ. 1984 ถูกเรียกว่า Rhinodontes) ซึ่งเป็นสมาชิกในชั้นย่อย Elasmobranchii ในชั้นปลากระดูกอ่อน ปลาฉลามวาฬพบได้ในทะเลเขตร้อนและอบอุ่น อาศัยอยู่ในทะเลเปิด มีช่วงอายุประมาณ 70 ปี[2] ปลาฉลามชนิดนี้กำเนิดเมื่อประมาณ 60 ล้านปีมาแล้ว อาหารหลักของปลาฉลามวาฬคือแพลงก์ตอน ถึงแม้ว่ารายการแพลนเน็ตเอิร์ธของบีบีซีจะถ่ายภาพยนตร์ขณะที่ปลาฉลามวาฬกำลังกินฝูงปลาขนาดเล็กไว้ได้

ปลากระเบน


ปลากระเบน

หมายถึง ปลากระดูกอ่อนจำพวกหนึ่งที่พบได้ทั้งน้ำจืดสนิท น้ำกร่อย และทะเล มีรูปร่างแบนราบ ปากอยู่ด้านล่าง หากินบริเวณพื้นน้ำ มีหลายวงศ์ (Family) หลายสกุล (Genus) ขนาดแตกต่างหลากหลายไปตามสกุลและชนิด กระจายไปตามเขตอบอุ่นทั่วโลก เช่น ในวงศ์ปลากระเบนหางสั้น (Potamotrygonidae) มีหางสั้น รูปร่างกลมคล้ายจานข้าว ในวงศ์ปลากระเบนธง (Dasyatidae) รูปร่างค่อนข้างกลม จะงอยปากแหลม หางยาวคล้ายแส้ มีเงี่ยงพิษที่โคนหาง 1 - 2 ชิ้น ที่เมื่อหักไปแล้วสามารถงอกใหม่ได้ ในวงศ์ปลากระเบนไฟฟ้า (Narcinidae และ Torpedinidae) พบในทะเล มีขนาดเล็ก มีรูปร่างต่างไปจากกระเบนชนิดอื่น ๆ และสามารถผลิตไฟฟ้าเพื่อป้องกันตัวและล่าเหยื่อได้ด้วย


ปลาหางนกยูง


ปลาหางนกยูง
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Poecilia reticulata Peters 1859 มีชื่อสามัญว่า Guppy อยู่ในครอบครัว Poecidae เป็นปลาอออกลูกเป็นตัว
และมีถิ่นกำเนิดทางทวีปอเมริกาใต้แถบเวเนซูเอลล่า หมู่เกาะคาริเบียนของประเทศบาร์บาโดสและในแถบลุ่มน้ำอเมซอน ในธรรมชาติอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำจืด
และน้ำกร่อยที่เป็นแหล่งน้ำนิ่งจนถึงน้ำไหลเรื่อยๆ ปลาตัวผู้มีขนาด 3 -5 เซนติเมตร ตัวเมียมีขนาด 5 -7 เซนติเมตร ปลาหางนกยูงที่นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม (Fancy guppies) ซึ่งเป็นปลาที่ได้รับการคัดพันธุ์และปรับปรุงพันธุ์มาจากพันธุ์พื้นเมือง ( Wild guppies) ที่พบแพร่กระจายอยู่ในธรรมชาติ ลักษณะ
เด่นที่ใช้ในการปรับปรุงพันธุ์เพื่อให้ได้สายพันธุ์ใหม่ๆ คือ ลักษณะสีและลวดลายบนลำตัวและลวดลายบนครีบหางและรูปแบบของครีบหาง ซึ่งในการเรียกสาย
พันธุ์ต่างๆ จะถูกตั้งชื่อตามลักษณะ ดังกล่าว
ลักษณะที่ดีของปลาหางนกยูง
ลักษณะลำตัว -> มีขนาดใหญ่ หนาสมส่วน ไม่คดงอ
ลักษณะครีบ -> ครีบหางใหญ่ พริ้วหนา แข็งแรงสมบูรณ์ไม่ฉีกขาด ขณะว่ายน้ำพริ้วไม่พับ
สีและลวดลาย -> ถูกต้องตามสายพันธุ์ คมเข้มชัดเจน
ความสมบูรณ์ของลำตัว -> ทรงตัวปกติ

วันพฤหัสบดีที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2553

อูฐ


อูฐในโลกแบ่งตามรูปร่างได้ 2 พวกใหญ่ๆ คือ พวกที่มีโหนกบนหลังโหนกเดียว ที่เรียกง่ายๆ ว่า อูฐอาหรับ มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Camelus dromedarius มีอยู่ในแอฟริกาและอาราเบีย จนถึงอัฟกานิสถาน อีกพวกหนึ่งคือมีโหนกบนหลัง 2 โหนก เรียกง่ายๆว่า อูฐแบกเทรียน มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Camelus bactrianusพบอยู่เฉพาะในทวีปเอเชียตอนกลางอูฐแท้ๆ นั้นจะมีอยู่เฉพาะแต่เขตร้อนเท่านั้น แต่มีสัตว์สืบสายตระกูลเดียวกัน เรียกว่า ลามา (Llama) ซึ่งจะไม่อยู่ในที่ร้อน จะชอบอยู่ตามที่ราบสูงๆ อากาศจะหนาว ดังนั้นมันจึงมีขนยาวทั่วตัวลักษณะเท้าของอูฐนั้นจะแบน และอ่อนนุ่มเพื่อเดินได้สะดวกบนทราย เท้าของมันมีเล็บ 2 เล็บ และริมฝีปากของมันแบ่งเป็น 2 ซีก ขวาและซ้าย คล้ายๆ กับริมฝีปากของกระต่าย จมูกของมันจะมีกล้ามเนื้อปิดเปิดรูจมูกได้พอพายุพัดทรายเข้ามา มันก็ปิดรูจมูกเสีย ไม่ให้ทรายเข้าไป หนังตาของมันก็จะหนาเป็นพิเศษ ป้องกันฝุ่นทรายไม่ให้เข้าตาได้ดีลักษณะโหนกบนหลังอูฐนั้นจะนิ่มเป็นก้อนเนื้อ ถ้ามันกินอาหารอย่างสมบูรณ์ โหนกของมันก็จะสูงขึ้นและใหญ่ขึ้น และถ้าหากให้อดอาหารนานๆ โหนกของมันก็จะหดเล็กลง อาหารที่มันชอบกินคือ พวกใบไม้ในอัฟริกาหรือในอาราเบีย เขาจะใช้มันบรรทุกสินค้าจากเมืองหนึ่งไปอีกเมืองหนึ่ง อูฐตัวหนึ่งสามารถบรรทุกของได้ราว 500-600 ปอนด์ อูฐบางชนิดใช้สำหรับเดินทางไกล คือไปได้เร็วกว่าคนราว 2-3 เท่า และเดินทนตลอดทั้งกลางวันและกลางคืน วันหนึ่งๆ มันเดินทางได้ไกล 70-80 ไมล์

สิงโต


สิงโต สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
Lion
ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Panthera leo
ลักษณะทั่วไป
สิงโตแอฟริกา และสิงโตอินเดียไม่มีลักษณะที่แตกต่างกัน สิงโตไม่มีลายบนตัวอย่างเสือ ตัวผู้ที่โตเต็มที่จะมีขนยาวขึ้นรอบคอ ดูสง่าน่าเกรงขาม ตัวเมียไม่มีขนรอบคอ ตรงปลายหางมีขนขึ้นเป็นพู่
ถิ่นอาศัย, อาหาร
พบในทวีปแอฟริกา ในทวีปเอเชียยังคงพบได้บ้างเช่นในประเทศอินเดียทางแถบตะวันตก
สิงโตกินเนื้อสัตว์เป็นอาหาร กินสัตว์ได้แทบทุกชนิด เช่น กระต่ายป่า ไก่ป่า ลิง จระเข้ เม่น กวางต่างๆ และม้าลาย เป็นต้น แม้แต่ซากสิงโตด้วยกันเองก็กิน
พฤติกรรม, การสืบพันธุ์
ชอบอยู่เป็นฝูงตามทุ่งโล่ง ขนาดของฝูงขึ้นอยู่กับปริมาณของเหยื่อ ถ้ามีเหยื่อมากและเหยื่อมีขนาดใหญ่ สิงโตก็จะอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ เวลาส่วนใหญ่ของสิงโตหมดไปกับการนอนพักผ่อน จะล่าเหยื่อก็ต่อเมื่อหิว หน้าที่ล่าเหยื่อจะเป็นของตัวเมียเป็นส่วนใหญ่ ตัวผู้ล่าเหยื่อไม่เก่ง แต่จะเป็นผู้คอยกันตัวเมียออกจากซากเหยื่อ เพื่อให้ลูกสิงโตได้มีโอกาสกินด้วย นอกจากนี้ยังมีหน้าที่ป้องกันฝูงและรักษาอาณาเขตของฝูงจากตัวผู้ตัวอื่น สิงโตออกหากินกลางคืน ตั้งแต่เริ่มมืดจนถึงเที่ยงคืน เมื่อกินเหยื่อเสร็จแล้วต้องกินน้ำ และนอนพัก ตอนเช้าจึงจะกลับที่อยู่ การล่าเหยื่อของสิงโตมีทั้งแบบออกล่าตัวเดียวและเป็นกลุ่ม วิธีการล่าเหยื่อของสิงโตคือจะพยายามเข้าไปใกล้เหยื่อให้ได้มากที่สุดก่อนที่จะตะครุบเหยื่อหรือออกวิ่งไล่เหยื่อ เพื่อให้เหยื่อมีเวลาหนีน้อยที่สุดเนื่องจากว่าสิงโตสามารถวิ่งได้เร็วในระยะสั้นๆเท่านั้น นอกจากนี้สิงโตยังมีความอดทนอย่างมากในการรอคอยเหยื่อ
สิงโตมีฤดูผสมพันธุ์ไม่แน่นอนสามารถมีได้ทุกเวลาตลอดปี ตัวเมียเริ่มผสมพันธุ์ได้เมื่อมีอายุประมาณ 3 ปี ส่วนตัวผู้ประมาณ 4-6 ปี ระยะของการเป็นสัดนาน 4-16 วัน ตั้งท้องนานราว 100 วัน ออกลูกครั้งละ 3-5 ตัว ลูกอดนมเมื่ออายุ 3-6 เดือน และมีอายุยืนประมาณ 30-40 ปี
สถานภาพปัจจุบัน
สถานที่ชม
สวนสัตว์ดุสิต สวนสัตว์เปิดเขาเขียว สวนสัตว์เชียงใหม่ สวนสัตว์นครราชสีมา สวนสัตว์สงขลา


นกยูง


นกยูงไทย สัตว์ปีก
Green Peafowl
ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Pavo muticus
ลักษณะทั่วไป
เป็นนกขนาดใหญ่มาก ความยาววัดจากปลายปากถึงปลายหางประมาณ 102 - 245 เซนติเมตร ทั้งเพศผู้และเพศเมียมีหงอนเป็นพู่สีเหลืองชี้ตรงอยู่บนหัว ต่างจากนกยูงอินเดียซึ่งเป็นรูปพัด บนหัวและคอเป็นขนสั้น ๆ สีเขียวเหลือบน้ำเงิน หน้ามีสีฟ้า ดำ และเหลือง ขนคอ หน้าอกและหลังตรงกลาง ขนมีเหลือบน้ำเงินแก่ล้อมด้วยสีเขียวและสีทองแดง นกยูงตัวผู้มีแพนขนปิดหางยาวหลายเส้น ตรงปลายมีดอกดวง "แววมยุรา" ตรงกลางดวงมีสีน้ำเงินแกมดำอยู่ภายในพื้นวงกลมเหลือบเขียว ล้อมรอบด้วยรูปไข่สีทองแดง เมื่อนกยูงรำแพนจึงเป็นรูปพัดขนาดใหญ่มีสีสันสวยงามมาก นกยูงตัวเมียมีขนาดเล็กกว่าตัวผู้เล็กน้อย และมีเดือยสั้นกว่า ขนของตัวเมียมักมีสีน้ำตาลแดงแทรกอยู่เป็นคลื่น
ถิ่นอาศัย, อาหาร
นกยูงมีการกระจายพันธุ์ในรัฐอัสสัม ประเทศอินเดีย ด้านตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศจีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเกาะชวา ในประเทศไทยพบในภาคเหนือและภาคตะวันตก
นกยูงกินทั้งพืชและสัตว์ ได้แก่ เมล็ดหญ้า เมล็ดของไม้ต้น ธัญพืช ผลไม้สุก แมลง ตัวหนอน ไส้เดือน งู และสัตว์ขนาดเล็ก
พฤติกรรม, การสืบพันธุ์
นกยูงอาศัยตามป่าทั่วไปในระดับความสูงไม่เกิน 1,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล พบอยู่เป็นฝูงเล็กๆ หลังช่วงฤดูผสมพันธุ์มักพบตัวเมียอยู่กับลูกตามลำพัง มักออกหากินในช่วงเช้าและบ่าย ตามชายป่าและริมลำธาร ตอนกลางคืนมักจับคอนนอนตามกิ่งไม้ค่อนข้างสูง
การเกี้ยวพาราสีกันของนกยูงเริ่มเมื่อนกยูงตัวเมียหากินเข้าไปดินแดนของนกตัวผู้ ตัวผู้จะร่วมเข้าไปหากินในฝูงด้วย และแสดงการรำแพนหาง กางปีกสองข้างออกพยุงลำตัว ชูคอขึ้นแล้วย่างก้าวเดินหมุนตัวไปรอบ ๆ ตัวเมีย การรำแพนหางจะใช้เวลาประมาณ 5 - 10 นาที หากตัวเมียพร้อมที่จะผสมพันธุ์จะย่อตัวลงให้ตัวผู้ขึ้นผสมพันธุ์ นกยูงทำรังบนพื้นดินตามที่โล่งหรือตามซุ้มกอพืช อาจมีหญ้าหรือใบไม้แห้งมารองรัง วางไข่ครั้งละ 3 - 6 ฟอง เริ่มฟักไข่หลังจากออกไข่ฟองสุดท้ายแล้ว โดยใช้เวลาฟักทั้งสิ้น 26 - 28 วัน ลูกนกแรกเกิดมีขนอุยคลุมทั่วตัว สามารถยืนและเดินตามแม่ไปหาอาหารได้ทันทีที่ขนแห้ง โดยลูกนกจะตามแม่ไปหากินไม่น้อยกว่า 6 เดือน จากนั้นจึงหากินตามลำพัง
สถานภาพปัจจุบัน
นกยูงในป่าธรรมชาติค่อนข้างหายาก และปริมาณน้อย นอกจากบางแห่ง เช่น เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ที่ยังพบได้บ่อย และปริมาณปานกลาง กฎหมายจัดให้นกยูงไทยเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535
สถานที่ชม
สวนสัตว์ดุสิต สวนสัตว์เปิดเขาเขียว สวนสัตว์เชียงใหม่ สวนสัตว์นครราชสีมา สวนสัตว์สงขลา

แรดขาว


แรดขาว สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
White Rhinoceros
ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Ceratotherium simum
ลักษณะทั่วไป
ถ้าไม่รวมช้างแล้ว แรดขาวเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมบนบกที่ใหญ่ที่สุด ความยาวตั้งแต่หัวถึงโคนหาง 3.6-5 เมตร ไหล่สูง 1.6-2 เมตร น้ำหนักปกติ 2.3-3.6 ตัน ผิวสีน้ำตาลอมเหลืองหรือสีเทา ผิวหนังทั่วตัวไม่มีขน ยกเว้นขนที่ปลายหูและขนหาง นอหน้ายาว 0.6 เมตร แต่บางตัวอาจยาวกว่า 1.50 เมตร แรดขาวริมฝีปากบนเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ไม่มีติ่งคล้ายงวง หูยาวกว่าแรดดำ และปลายหูแหลม หน้าผากลาดและมนกว่าแรดดำ หัวไหล่นูนเป็นก้อน ผิวหนังเป็นตุ่มนูนน้อยกว่าแรดดำ
ถิ่นอาศัย, อาหาร
พบทางใต้ของแอฟริกา ตั้งแต่ซูลูแลนด์ ถึงอุทยานแห่งชาติตรูเกอร์ซึ่งแรดขาวถูกนำไปเลี้ยงไว้ และยังพบได้ใน ซูดานภาคใต้ ยูกันดา และแถบใกล้ ๆ คองโก ประชากรแรดขาวลดจำนวนลงไปอย่างมากเช่นเดียวกับแรดพันธุ์อื่น แม้ว่าจะได้รับการคุ้มครองดีขึ้นก็ตาม
กินหญ้าเป็นส่วนใหญ่ และกินพุ่มไม้เตี้ย ๆ มากกว่าใบไม้
พฤติกรรม, การสืบพันธุ์
ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง และดุร้ายน้อยกว่าแรดดำ อยู่เป็นคู่หรือครอบครัวเล็ก ๆ 3-4 ตัว บางครั้งพบอยู่หลายครอบครัวหากินอยู่ด้วยกัน บางทีพบถึง ๑๘ ตัว มีตัวผู้คุมฝูงตัวเดียว นอกนั้นเป็นตัวเมียและลูก แรดขาวมีการกระจายถิ่นหากินกว้างขวางกว่าแรดดำ โดยใช้กองอุจจาระและปัสสาวะเป็นการบอกอาณาเขตของมัน ตัวเมียที่มีลูกจะยอมให้ตัวผู้เข้าใกล้เฉพาะตอนที่เป็นสัดเท่านั้น หลังจากผสมพันธุ์แล้ว ตัวเมียจะต่อสู้ไล่ตัวผู้ไปทันที บางครั้งตัวผู้อาจถึงตายได้หรือ บางครั้งลูกที่ติดแม่อาจตาย ในฤดูร้อนชอบหลบร้อนตามร่มไม้หรือแช่ปลัก บางทีแช่ปลักทั้งคืนเพื่อบรรเทาความร้อนและกำจัดเห็บ หน้าหนาวชอบนอนอาบทรายแทนการแช่ปลัก จมูกดีมาก แต่ตาและหูไม่ดี ปกติวิ่งด้วยความเร็วถึง 29กิโลเมตรต่อชั่วโมง ถ้าตกใจอาจวิ่งได้เร็วถึง 40 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
แรดขาวเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุ 7-10 ปี ตั้งท้องนาน 18 เดือน (547 วัน) ปกติออกลูกตัวเดียว ซึ่งพออายุ 1 วันก็เดินตามแม่ได้แล้ว พออายุ 1 สัปดาห์เริ่มกินหญ้า ลูกจะอยู่กับแม่จนอายุ 1 ปี ลูกจะมีน้ำหนักประมาณ 400 กิโลกรัม ในเวลา 18 เดือน และมีอายุยืน 30-40 ปี


เสือ


เสือ
ปัจจุบันจำนวนของเสือในประเทศไทยลดจำนวนลงเป็นอย่างมากในระยะเวลาไม่ถึง 10 ปี เสือกลับถูกล่า ป่าภายในประเทศถูกทำลายเป็นอย่างมาก สภาพธรรมชาติในพื้นที่ต่าง ๆ ถูกเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากมาย ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมความเป็นอยู่ของมนุษย์เอง ทุกวันนี้ปริมาณของเสือที่จัดอยู่ในลำดับสุดท้ายของห่วงโซ่อาหารถือเป็นสิ่งจำเป็น เพราะการสูญสิ้นหรือลดจำนวนลงอย่างมากของเสือซึ่งเป็นสัตว์กินเนื้อ จะส่งผลกระทบต่อโครงสร้างและระบบนิเวศทั้งหมด การลดจำนวนอย่างรวดเร็วของเสือเพียงหนึ่งหรือสองชนิดในประเทศไทย ทำให้ปริมาณของสัตว์กินพืชเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว จนทำให้ธรรมชาติเสียความสมดุลในที่สุด

เก้ง


เก้ง(อีเก้ง หรือ ฟาน)
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
Barking Deer (Common Barking Deer)(Red Muntjak)
ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Muntiacus muntjak
ลักษณะทั่วไป เป็นกวางขนาดเล็ก ลำตัวยาวประมาณ 1 เมตร สูงประมาณ 50 เซนติเมตร น้ำหนัก 14-18 กิโลกรัม ตัวผู้มีเขาสั้น ยาวประมาณ 15 เซนติเมตร และมีแขนงเล็ก ๆ แตกออกข้างละสองกิ่ง ตัวเมียไม่มีเขา ขนตามลำตัวสีน้ำตาลแดง มีต่อมน้ำตาขนาดใหญ่และแอ่งน้ำตาลึก ตัวผู้มีเขี้ยวยาวยื่นออกมานอกริมฝีปาก ใช้สำหรับป้องกันตัว ลูกเก้งมีจุดสีขาวตามตัว และจะค่อยจางหายไปเมื่อมีอายุได้ราว 6 เดือน ถิ่นอาศัย, อาหาร ศรีลังกา อินเดียภาคใต้ จีนตอนใต้ พม่า มาเลเซีย อินโดจีน สุมาตรา ชวา บอร์เนียว หมู่เกาะซุนดา และทุกภาคของประเทศไทย เก้งกินใบไม้อ่อน หน่อไม้อ่อน มะขามป้อม และมะม่วงป่า พฤติกรรม, การสืบพันธุ์ มักชอบอาศัยอยู่ตามลำพังตัวเดียวตามพงหญ้าและป่าทั่วไป เว้นแต่ในช่วงฤดูผสมพันธุ์จะอยู่เป็นคู่ เป็นสัตว์ออกหากินตอนเย็นและเช้าตรู่ กลางวันหลับนอนตามพุ่มไม้ เมื่อตกใจจะส่งเสียงร้อง "เอิ๊บ-เอิ๊บ-เอิ๊บ" คล้ายเสียงสุนัขเห่า และเป็นสัตว์ที่กระหายน้ำเก่ง เก้งเริ่มผสมพันธุ์ได้เมื่ออายุปีครึ่ง ออกลูกครั้งละ 1 ตัว สถานภาพปัจจุบัน เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 สถานที่ชม สวนสัตว์ดุสิต สวนสัตว์เปิดเขาเขียว สวนสัตว์เชียงใหม่ สวนสัตว์นครราชสีมา สวนสัตว์สงขลา

ยีราฟ


ยีราฟ
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
Giraffe
ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Giraffa camelopardalis
ลักษณะทั่วไป เป็นสัตว์บกที่สูงที่สุด มีคอยาวมาก ตัวผู้มีส่วนสูงประมาณ 18 ฟุต น้ำหนักประมาณ 1,100 - 1,932 กิโลกรัม ตัวเมียมีส่วนสูงประมาณ 17 ฟุต น้ำหนักประมาณ 700 - 1,182 กิโลกรัม มีเขาทั้งในตัวผู้และตัวเมีย ไม่ผลัดเขา เขามีขนปกคลุมอยู่ หนังมีขนสั้นสีน้ำตาล มีลายขาวแปลกตา ปากและลิ้นยาว ใช้ริมฝีปาก และลิ้นม้วนวนจับใบไม้ได้ มีเต้านม 4 เต้า ถิ่นอาศัย, อาหาร พบเฉพาะในทวีปแอฟริกา แถบทุ่งหญ้าสะวันนา ทางตอนใต้ของทะเลทรายซาฮาร่า ตั้งแต่ไนจีเรียไปจนจรดแม่น้ำออเรนจ์ ยีราฟไม่ชอบกินหญ้ามากนัก ชอบกินใบไม้มากกว่า พฤติกรรม, การสืบพันธุ์ ชอบอาศัยอยู่ในทุ่งกว้างรวมกันเป็นฝูง และหากินร่วมกับสัตว์อื่นพวกม้าลาย นกกระจอกเทศ และพวกแอนติโลป โดยยีราฟจะคอยระวังภัยให้ ตัวผู้มีการต่อสู้กันในช่วงฤดูผสมพันธุ์ ศัตรูสำคัญของยีราฟคือเสือดาวและสิงโต ซึ่งยีราฟป้องกันตัวโดยใช้หัวเหวี่ยงและใช้เท้าเตะ ยีราฟเริ่มผสมพันธุ์ได้เมื่อมีอายุราว 3 ปีครึ่ง ตั้งท้องนาน 420 - 468 วัน ออกลูกครั้งละ 1 ตัว ลูกหย่านมเมื่ออายุ 10 เดือน เป็นสัดทุก 14 วัน แต่ละครั้งเป็นอยู่นาน 24 ชั่วโมง และมีอายุยืนประมาณ 20-30 ปี สถานภาพปัจจุบัน สถานที่ชม สวนสัตว์ดุสิต สวนสัตว์เปิดเขาเขียว สวนสัตว์เชียงใหม่ สวนสัตว์นครราชสีมา สวนสัตว์สงขลา

นกเพนกวิน



นกเพนกวิน
เพนกวิน/นกเพนกวินอาศัยอยู่บริเวณแดนขั้วโลกใต้ penguin/เป็นสัตว์จำพวกเดียวกับนกแต่บินไม่ได้ เพนกวินสามารถดำน้ำและว่ายน้ำได้รวดเร็วมาก เพนกวินชนิดต่างๆ เพนกวินมีทั้งหมด 18 ชนิด แต่ละชนิดมีการดำรงชีวิตในถิ่นอาศัยต่างกันไป เพนกวินแคระ/สูงประมาณ40ซม.อาศัยอยู่ทางใต้ของนิวซีแลนด์และออสเตรเลีย เพนกวินกาลาปากอส/สูงประมาณ50ซม.อาศัยอยู่ในถ้ำตามชายหาดของเกาะกาลาปากอส เพนกวินเคป/สูงประมาณ63ซม.อาศัยอยู่ในทะเลทางใต้และตะวันตกเฉียงใต้ของแอฟริกาใต้ เพนกวินนักกระโดด/สูงประมาณ63ซม.อาศัยอยู่ที่เกาะทางขั้วโลกใต้ ชอบกระโดดขึ้นลงทะเลจากโขดหินที่ลาดชัน เพนกวินแมกเจนแลน/สูงประมาณ71ซม.อาศัยอยู่ตามแนวชายหาดของชิลี เรื่อยลงไปจนถึงที่ราบสูงปาตาโกเนีย

หมีโคอาล่า


โคอาล่าโคอาล่าไม่ใช่สัตว์ในตระกูลหมี แต่จัดอยู่ในกลุ่มสัตว์จำพวกจิงโจ้ ตัวเมียจะมีกระเป๋าหน้าท้อง สำหรับให้ลูกอ่อนอาศัยอยู่ จากการที่มันมัลักษณะรูปร่าง หน้าตาเหมือนหมี ทำให้คนส่วนมากเรียกมันว่า หมีโคอาล่า
ประวัติค.ศ. 1798 มีบันทึกครั้งแรกสุดที่พบโคอาล่า พบโดยชาวยุโรปชื่อ John Price ค.ศ. 1803 ข้อมูลรายละเอียดของโคอาล่าเริ่มถูกตีพิมพ์ใน Sydney Gazette ค.ศ. 1816 นักธรรมชาติวิทยาชาวฝรั่งเศส Blainwill ตั้งชื่อทางวิทยาศาสตร์ให้ ชื่อว่า Phascolarctos ซึ่งมาจากภาษากรีก โดยเกิดจากคำ 2 คำ รวมกัน คือคำว่า กระเป๋าหน้าท้องของจิงโจ้ และคำว่า หมี (leather pouch และ bear) ต่อมานักธรรมชาติวิทยาชาวเยอรมัน Goldfuss ได้ตั้งชื่อที่เฉพาะเจาะจงลงไปเป็น cinereus ซึ่งหมายถึง สีขี้เถ้า
ขนาดและน้ำหนักโคอาล่าที่อยู่ทางตอนใต้จะมีขนาดใหญ่กว่าที่อื่น โดยตัวผู้สูงประมาณ 30.8 นิ้ว หรือ 78 ซ.ม. ในขณะที่ตัวเมียสูงประมาณ 28 นิ้ว หรือ 72 ซ.ม. โคอาล่าที่อยู่ทางตอนใต้ ตัวผู้มีน้ำหนักเฉลี่ย 26 ปอนด์ หรือ 11.8 กิโลกรัม ในขณะน้ำหนักเฉลี่ยของตัวเมียอยู่ที่ 17.4 ปอนด์ หรือ 7.9 กิโลกรัม โคอาล่าที่อยู่ทางตอนเหนือ ตัวผู้มีน้ำหนักเฉลี่ย 14.3 ปอนด์ หรือ 6.5 กิโลกรัม ในขณะน้ำหนักเฉลี่ยของตัวเมียอยู่ที่ 11.2 ปอนด์ หรือ 5.1 กิโลกรัม โคอาล่าแรกเกิดมีน้ำหนักเพียง 0.5 กิโลกรัม เท่านั้น ลักษณะขน โคอาล่าที่อยู่ทางตอนใต้มีขนที่หนาเหมือนขนแกะ บริเวณหลังจะมีขนที่หนาและยาวกว่าบริเวณท้อง โคอาล่าที่อยู่ทางตอนเหนือมีขนที่สั้นกว่า โคอาล่ามีขนหนาที่สุดเมื่อเทียบกับสัตว์อื่นๆในตระกูลจิงโจ้ ขนมีสีเทา ถึง น้ำตาลปนเหลือง และมีสีขาวบริเวณคาง หน้าอก และด้านหน้าของแขน-ขา ขนบริเวณหูมีลักษณะเป็นปุย และมีขนสีขาวที่ยาวกว่าบริเวณอื่น
ลักษณะขนโคอาล่าที่อยู่ทางตอนใต้มีขนที่หนาเหมือนขนแกะ บริเวณหลังจะมีขนที่หนาและยาวกว่าบริเวณท้อง โคอาล่าที่อยู่ทางตอนเหนือมีขนที่สั้นกว่า
โคอาล่ามีขนหนาที่สุดเมื่อเทียบกับสัตว์อื่นๆในตระกูลจิงโจ้ ขนมีสีเทา ถึง น้ำตาลปนเหลือง และมีสีขาวบริเวณคาง หน้าอก และด้านหน้าของแขน-ขา ขนบริเวณหูมีลักษณะเป็นปุย และมีขนสีขาวที่ยาวกว่าบริเวณอื่น
ถิ่นที่อยู่อาศัยโคอาล่าอาศัยอยู่ในป่าที่มีต้นยูคาลิปตัส ปัจจุบันเราพบโคอาล่าที่ ควีนแลนด์ นิวเซาท์เวลล์ วิคตอเรีย และ ออสเตรเลียตอนใต้
ศัตรูศัตรูที่สำคัญคือ มนุษย์ ซึ่งล่าเอาขนของมัน
อาหารโคอาล่ากินใบยูคาลิปตัสเป็นอาหาร ฟันและระบบย่อยอาหารถูกพัฒนามาให้สามารถกินและย่อยใบยูคาลิปตัสได้ ใบยูคาลิปตัวมีสารอาหารน้อยมาก และยังมีสารที่มีพิษต่อสัตว์ แต่ระบบย่อยอาหารของโคอาล่ามีการปรับตัว ทำให้สามารถทำลายพิษนั้นได้ โคอาล่ามีอวัยวะที่ทำหน้าที่ในการย่อยไฟเบอร์ (ส่วนประกอบหลักของใบยูคาลิปตัส) ยาวมากถึง 200 ซ.ม. ที่บริเวณอวัยวะนี้ จะมีแบคทีเรียที่ช่วยในการย่อยไฟเบอร์ให้กลายเป็นสารอาหารที่ดูดซึมได้ อย่างไรก็ตาม โคอาล่ามีการดูดซึมสารที่ได้จากการย่อยไฟเบอร์ไปใช้เพียงแค่ 25 % ของที่มันกินไปเท่านั้น ส่วนน้ำในใบยูคาลิปตัสส่วนใหญ่ถูกดูดซึม ทำให้โคอาล่าไม่ค่อยหาน้ำกินจากแหล่งน้ำ
ส่วนใหญ่โคอาล่ากินใบยูคาลิปตัวประมาณวันละ 200 ถึง 500 กรัม
โดยปกติมันจะนอนถึง 16-18 ชั่วโมงต่อวัน เพื่อรักษาพลังงานไว้
การสืบพันธุ์ฤดูการสืบพันธุ์ของโคอาล่าอยู่ในช่วงกันยายน ถึง มีนาคม ตัวเมียเริ่มเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุ 3 ถึง 4 ปี และมักมีลูกปีละตัว แต่ทั้งนี้อาจมีลูกปีเว้นปี หรือ ปีเว้น 2 ปี ก็ได้ ขึ้นกับอายุของตัวเมียและสภาพแวดล้อม
อายุขัยเฉลี่ยของโคอาล่าตัวเมียประมาณ 12 ปี

ม้าลาย


ม้าลาย สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
Common Zebra(Burchell's Zebra)
ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Equus burchellii
ลักษณะทั่วไป
พบทั่วไปในทวีปแอฟริกาแถบที่ราบโล่งทางตอนใต้ของทะเลทรายซาฮาร่า
ถิ่นอาศัย, อาหาร
พบทั่วไปในทวีปแอฟริกาแถบที่ราบโล่งทางตอนใต้ของทะเลทรายซาฮาร่า
กินหญ้าและเมล็ดพืช
พฤติกรรม, การสืบพันธุ์
ชอบอาศัยอยู่ตามที่ราบโล่งที่เป็นหญ้า ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง ฝูงหนึ่งมีหลายร้อยตัวจนถึงเป็นพันก็มี โดยจะเล็มหญ้าหากินร่วมกับสัตว์อื่นในทุ่งกว้าง เช่น นกกระจอกเทศ ยีราฟ แอนตีโลป และสัตว์กีบชนิดอื่นๆ ม้าลายมักจะมีนกกินแมลงจับเกาะอยู่บนหลัง เพื่อช่วยระวังภัยและกินพวกแมลงที่มารบกวน และมีนกกระจอกเทศและยีราฟคอยช่วยเป็นป้อมยามคอยเตือนภัยและระวังภัยให้ เพราะม้าลายสายตาไม่ค่อยดี แต่จมูกและหูไวมาก ฟันคม
ม้าลายเริ่มผสมพันธุ์ได้เมื่อมีอายุประมาณ 2 ปี ตั้งท้องนานประมาณ 345-390 วัน ออกลูกครั้งละ 1 ตัว มีอายุยืนประมาณ 25-30 ปี
สถานภาพปัจจุบัน
สถานที่ชม
สวนสัตว์ดุสิต สวนสัตว์เปิดเขาเขียว สวนสัตว์เชียงใหม่ สวนสัตว์นครราชสีมา สวนสัตว์สงขลา

วันอังคารที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2553

แมวน้ำเคปเฟอร์ซีล


แมวน้ำเคปเฟอร์ซีล(แมวน้ำแอฟริกาใต้) สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
Cape Fur Seal(South African Fur Seal)
ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Arctocephalus pusillus pusillu
ลักษณะทั่วไป
ตัวผู้ใหญ่กว่าตัวเมีย โดยมีคอเป็นสันใหญ่ สีขนลำตัวของตัวผู้เป็นสีเทา-ดำ และมีสีน้ำตาลแซม น้ำหนักราว 247 กิโลกรัม ความยาว 2.15 เมตร ตัวเมียมีสีลำตัวเป็นสีน้ำตาล-เทา น้ำหนักราว 57 กิโลกรัม และมีความยาว 1.56 เมตร
ถิ่นอาศัย, อาหาร
ออกจับปลาในทะเลใกล้เกาะเล็ก ๆ และขึ้นฝั่งบนเกาะบริเวณชายหาดที่เป็นโขดหินที่มีการขึ้นลงของน้ำทะเลในเขตแอฟริกาใต้
กินปลาเป็นอาหารหลักรวมทั้งปลาหมึกและหอย
พฤติกรรม, การสืบพันธุ์
แมวน้ำเคปเฟอร์ซีลเป็นสัตว์สังคม อยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ ชอบล่าเหยื่อและหากินตามผิวน้ำหรือน้ำตื้นๆ หากินปลาตามเรือของชาวประมง
ในช่วงกลางเดือนตุลาคม ตัวผู้จะไปยังพื้นที่ผสมพันธุ์ซึ่งเป็นชายหาดที่เป็นโขดหินและประกาศอาณาเขต อีกหลายสัปดาห์ต่อมาตัวเมียจะตามเข้ามาเพื่อออกลูกจำนวน 1 ตัว ซึ่งจะมีตัวเมียหลายตัวเข้ามาในอาณาเขต ตัวผู้ที่ครองอาณาเขตจะไล่ตัวผู้ตัวอื่นออกนอกอาณาเขตหากล้ำเข้ามา จนกว่ามันจะได้ผสมพันธุ์กับตัวเมียทุกตัว ตัวเมียจะเป็นสัดหลังการออกลูก 5 - 6 วัน และมีระยะการตั้งท้องนานประมาณ 1 ปี

กวางดาว


กวางดาว
อาศัยอยู่ในเขตป่าร้อนชื้นแถบเชิงเขาหิมาลัยตลอดจนเกือบทั่วอินเดีย ศรีลังกา อินโดนีเซีย
ลักษณะ เป็นกวางป่าขนาดปานกลางระหว่างกวางป่ากับเนื้อทราย ขนสีน้ำตาลแดง มีจุดขาวข้างตัวเต็มไปหมด เรียงตัวกันเป็นลายยาวไปตามลำตัวสวยงามสะดุดตา กลางหลังมีแถบสีดำทอดเป็นแนวยาวไปจนจรดโคนหาง และมีจุดสีขาวเรียงขนาบไปข้างละแถวไปตลอด ขนเส้นเล็กละเอียดอ่อนนุ่มไม่หยาบเท่ากวางป่า เฉพาะตัวผู้ที่มีเขา เขาแตกเป็นกิ่งข้างละ 3 กิ่ง ช่วงผลัดเขาไม่พร้อมกันและไม่ขึ้นกับฤดูกาล
นิสัย
ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงตามป่าโปร่ง คุ้นคนง่าย เชื่อง มักอยู่เป็นฝูงใหญ่ หากินตามทุ่งหญ้าโล่งหรือป่าโปร่ง ออกหากินในช่วงตอนเย็นจนถึงเช้าตรู่ ชอบกินหญ้ามากกว่าใบไม้ กระหายน้ำเก่ง ต้องกินน้ำบ่อย ๆ ชอบแทะเปลือกไม้ ว่ายน้ำเก่ง ชอบสะอาดไม่ชอบนอนเกลือกปลักตมเหมือนกวางป่า ตัวผู้มีนิสัยรักสงบ ไม่ดุร้าย เหมือนกวางชนิดอื่น ตัวผู้หลาย ๆ ตัว สามารถอยู่รวมฝูงกันได้อย่างสงบ
การสืบพันธุ์
ฤดูผสมพันธุ์ปกติจะตกอยู่ในช่วงต้นฤดูหนาว ตั้งท้องประมาณ 7-8 เดือน ตกลูกครั้งละ 1 ตัว กวางดาวที่นำมาเลี้ยงในสวนสัตว์ต่าง ๆ อายุยืนประมาณ 20 ปี ส่วนในธรรมชาติ อายุยืนประมาณ 12-15 ปี ชอบกินหญ้ามากในธรรมชาติ และกินใบไม้ ผลไม้บางชนิด ลักษณะ ความเป็นธรรมชาติ และ เหตุที่มันกระจายเข้าป่าโปร่ง

จิงโจ้


จิงโจ้บิน
มาทำความรู้จักชูการ์ไกรเดอร์กันก่อน Sugar Glider
ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Petaurus Breviceps
ชื่อสามัญ Sugar Glider
ขนาด โตเต็มที่วัยจากจมูกถึงหางก็ประมาณ11นิ้ว
น้ำหนัก แรกเกิดจะหนักประมาณ 0.19 กรัม
ระยะเวลาตั้งท้อง ระยะเวลาตั้งท้อง: 16 วัน
อายุขัย 15 ปี
อาหาร ซีรีแลค หนอนนก จิ้งหรีด ผักผลไม้
ถิ่นกำเนิด ออสเตรเลีย นิวกินี อินโดนีเซีย
ชูการ์ไกรเดอร์หรือที่เมืองไทยเรียกกันว่า กระรอกบินออสเตรเลียเป็นสัตว์ประเภทกระรอกบินจัดอยู่ในตระกูลจิงโจ้ (marsupials) เพราะชูการ์ไกรเดอร์เพศเมียจะมีถุงหน้าท้อง (pouch) เหมือนเจ้าจิงโจ้ พวกมันเป็นสัตว์ตื่นกลางคืนนอนกลางวัน (nocturna) และจะเปรียวมากในตอนดึก ตามธรรมชาติชูการ์ไกรเดอร์จะอาศัยอยู่บนต้นไม้ ดังนั้นธรรมชาติจึงสร้าง กรงเล็บอันแหลมคมให้มันเพื่อใช้เกาะเวลามันกระโดดจากต้นไม้ต้นหนึ่งไปยังอีกต้นหนึ่ง แต่เพื่อนๆที่คิดจะเลี้ยงไม่ต้องกลัวว่าเล็บของมันจะจิกเนื้อเรา เพราะว่าเราสามารถจับมันตัดเล็บได้ แต่เพื่อนๆต้องระวังเวลาตัดหน่อยนะเพราะมันเป็นสัตว์ที่ไม่อยู่นิ่ง ส่วนหางของมัน จะทำหน้าที่เป็นเหมือนหางเสือเรือที่ไว้ใช้บังคับทิศทาง คนส่วนมากมักเข้าใจว่า เจ้าชูการ์ไกรเดอร์บินได้เพราะเรียกมันว่ากระรอกบิน แต่จริงๆมันบินไม่ได้ แต่มันจะร่อนจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำเท่านั้นเอง ในอเมริกานิยมเลี้ยงชูการ์ไกรเดอร์เป็นสัตว์เลี้ยงเอามากๆ พวกมันมีอยู่ประมาณเกือบ 10 สี แต่ในเมืองไทยตอนนี้มีแค่สีเดียวคือลีเทา ขนเจ้าชูการ์ไกรเดอร์เนี่ยจะนุ่มมากๆ ข้างลำตัวของมันจะมีพังพืด (patagium) ซึ่งสามารถกางได้จากขาหน้าไปถึงขาหลัง เพื่อลู้ลมเวลามันร่อน
อาหาร
อาหารหลักๆของเจ้าชูการ์ไกรเดอร์ควรจะให้ ซีรีแลค (อาหารเสริมเด็กอ่อน) มีขายตามซุปเปอร์มารเก็ดทั่วไป หรือถ้าจะให้สะดวกก็ที่เซเว่นอีเล่เว่น อาหารหมาก็ให้ได้เพื่อความสะดวก หรือจะเป็นผักผลไม้ โดยเฉพาะองุ่นดำเนี่ยชอบมากๆ ส่วนอาหารเสริมก็เป็นพวกหนอนนก จิ้งหรีด แต่ไม่ควรให้บ่อยจนเกินไป
อุณหภูมิ
เจ้าชูการ์เนี่ยไม่ชอบอากาศหนาวเท่าไรนัก ในอเมริกาเมื่อถึงหน้าหนาวเจ้าของจะต้องมีฮีทเตอร์ติดเอาไว้ใต้กรงเพื่อให้ความอบอุ่น มันชอบอุณหภูมิประมาณ 18-31 องศาเซลเซียส สำหรับอากาศเมืองไทยเจ้าชูการ์อยู่ได้สบาย
ระยะเวลาตั้งท้อง
ชูการ์ไกรเดอร์เป็นสัตว์ที่มีระยะเวลาตั้งท้องแค่ 16 วันเท่านั้นพวกมันผสมพันธุ์ได้ตลอดปี ให้ลูก1-3 ตัว แต่โดยเฉลี่ยแล้วจะให้1-2 ตัวเท่านั้น แรกเกิดจะมีน้ำหนักแค่0.19 กรัม ไม่มีขน หลังจาก ลูกชูการ์ไกรเดอร์คลอดออกมาแล้วมันจะคลานกลับเข้าไปอยู่ในถุงหน้าท้องของแม่ ซึ่งภายในจะมีเต้านมอยู่ 2 เต้า สำหรับเจ้าชูการ์น้อย และมันจะอยู่ในนั้นอีกประมาณ 2 เดือน หลังจาก 2 เดือน เจ้าชูการ์น้อยก็จะเข้าๆออกๆจากถุงหน้าท้องของแม่ และใช้เวลาอีกประมาณ 2 อาทิตย์ก็จะลืมตาและสามารถแยกออกจากแม่ของเค้าได้

นกกระจาบทอง


นกกระจาบทอง, เต็งครู
ชื่อสามัญ Golden Weaver
ชื่อวิทยาศาสตร์ Ploceus hypoxanthus
วงศ์ Ploceidae
ลักษณะทั่วไป
นกกระจาบทองในฤดูธรรมดาตัวผู้และตัวเมียจะมีสีลายเหมือนกัน คือ สีพื้นทั่วไปจะเป็นสีน้ำตาล ท้องจะมีสีน้ำตาลอ่อน ปีกและหางจะมีสีน้ำตาลเข้ม ลายขนหัว บนหลัง บนปีก คิ้ว จะเป็นสีน้ำตาลอ่อน ปากจะหนาสีน้ำตาลกว้างและสั้น ส่วนตัวผู้ในฤดูผสมพันธุ์ หัวจนถึงต้นคอ หน้าอกท้องและหลังส่วนโคนหาง จะเป็นสีเหลืองทอง แก้มใต้คอจะเป็นสีดำน้ำตาล ปากเป็นสีเทาเข้มปลายหางขาวนิดๆ ลายบนหลังและบนปีกเป็นสีเหลืองชัดเจน ม่านตาเป็นสีน้ำตาลแดง ตีนสีชมพูอมน้ำตาล
รัง
จะมีลักษณะกลมๆ สอดสานอยู่ระหว่างต้นกก ในกก และใบหญ้าคา เหมือนลูกมะพร้าว มีรูเข้าออกหนึ่งทาง ส่วนใหญ่จะทำรังอยู่ในกอกก โดยเฉพาะกกธูปอยู่กลางหนอง ทำรังจะอยู่เหนือน้ำประมาณเมตรครึ่งถึงสองเมตร
ถิ่นที่อยู่อาศัย
จะอาศัยอยู่ตามพื้นที่ราบลุ่มภาคกลาง รังสิต อยุธยา นครนายก สมุทรปราการ นครปฐม สุพรรณบุรี สิงห์บุรี ชัยนาท จนถึงนครสวรรค์ เป็นนกประจำถิ่นและเฉพาะถิ่น
อดีตและปัจจุบัน
ในอดีตมีอยู่มากมาย แต่ปริมาณก็ยังน้อยกว่านกกระจาบธรรมดา ปัจจุบันนี้หาดูได้น้อยมากถ้าไม่สังเกตจริงๆจะไม่พบ ยังจะพอหาดูได้ในแถบชานเมือง เช่น สองฟากทางถนนสายปทุมธานี-บางไทร, บางบัวทอง-สุพรรณบุรี, วัดตาลเอน, วังน้อย, สามหลั่น เป็นต้น

นกดอกหญ้าสีเทา


นกยอดหญ้าสีเทา
ชื่อสามัญ Grey Bushchat
ชื่อวิทยาศาสตร์ Saxicola Ferrea
วงศ์ Turdidae
ลักษณะทั่วไป
คล้ายวงศ์นกกระจ้อย นกกระจิ๊ด (Warbler) และวงศ์นกจับแมลง (Flycatchers) เป็นนกขนาดเล็ก ปราดเปรียว จงอยปากเล็กบางและตรง เท้าเล็กแข็งแรง แข้งยาวกว่าสองวงศ์หลังเล็กน้อย ตัวผู้ตัวเมียลักษณะใกล้เคียงกัน ที่ต่างจากสองวงศ์ดังกล่าวนี้ ก็คือ ลูกนกที่ยังโตไม่เต็มวัยจะมีขนเป็นลายจุดๆ ทั่วโลกมีนกวงศ์ Turdidae อยู่ 316 ชนิด ในเมืองไทยมีรายงานพบ 49 ชนิด นกวงศ์นี้ยังแบ่งย่อยได้อีก 7 - 8 เหล่า อาทิ เหล่านกปีกสั้น (Shortwings) เหล่านกเขนน้อย (Robins) เหล่านกยอดหญ้า (Charts) และเหล่านกเดินดง (Typical Thrushes) เป็นต้น นกยอดหญ้าสีเทา มีขนาดผประมาณ 16 ซ.ม. ตัวผู้สีออกเทาๆทั้งตัว คิ้วและใต้คางขาวอมเทา วงรอบตาสีดำเหมือนสวมหน้ากาก ท้องมีสีเทาอ่อนกว่าหลัง ปีกและหางเทาเข้ม นอกฤดูผสมพันธุ์จะออกสีน้ำตาลๆมากกว่าเทา ตัวเมียรูปร่างลักษณะใกล้เคียงกัน แต่สีออกน้ำตาลๆทั้งตัว คิ้วและใต้คางอมขาว ท้องสีจางกว่าหลังและปีก สะโพกสีน้ำตาลอมแดง ส่วนลูกนกยังไม่เต็มวัย จะมีลักษณะคล้ายตัวเมีย ขนออกสีน้ำตาลเป็นจุดๆ
ถิ่นที่อยู่อาศัย
ชอบอาศัยตามทุ่งหญ้าโล่ง ทุ่งนาและป่าละเมาะ สร้างรังวางไข่ในบริเวณพื้นที่สูง ตั้งแต่ 1,600 เมตรขึ้นไป ส่วนหนึ่งที่พบเป็นนกอพยพในฤดูหนาว อีกส่วนหนึ่งเป็นนกประจำถิ่น พบได้ทางภาคเหนือเป็นส่วนใหญ่

นกกระเต็นใหญ่ปีกสีน้ำตาล


นกกระเต็นใหญ่ปีกสีน้ำตาล
ชื่อสามัญ Brown-Winged Kingfisher
ชื่อวิทยาศาสตร์ Heleyon Amauroptera
วงศ์ Alcidinidae
ลักษณะทั่วไป
ตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะเหมือนกัน เป็นนกกระเต็นที่มีขนาดใหญ่วัดขนาดได้ 36 ซ.ม. ปากใหญ่มีสีแดง มีปีกสีน้ำตาลช็อกโกแลต ขนบริเวณลำตัวและหัวออกสีน้ำตาลอมเหลือง บริเวณโคนหางมีสีฟ้า
ถิ่นที่อยู่อาศัย
เป็นนกประจำถิ่นที่หากินในแถบบริเวณป่าชายเลนที่มีความอุดมสมบูรณ์ ส่วนใหญ่จะพบในแถบป่าชายเลนด้านตะวันตก สามารถพบเห็นได้ตลอดทั้งปี

นกพญาปากกว้างท้องแดง


นกพญาปากกว้างท้องแดง
ชื่อสามัญ Black-and-red Broadbill
ชื่อวิทยาศาสตร์ Cybirhynchus macrohynchus
วงศ์ Eurylaimidae
ลักษณะทั่วไป
ตัวผู้และตัวเมียเหมือนกัน มีปากกว้างใหญ่ มีปากบนสีฟ้า ปากล่างสีเหลือง ทีปีกมีแถบสีขาว ขนบนหัว บนหลัง และบนปีกมีสีดำ ด้านล่างของลำตัวมีสีแดงเข้ม
ถิ่นที่อยู่อาศัย
บอร์เนียว, พม่า, มาเลเซีย, สุมาตรา, เขมร, โคชินไชน่า, ไทย, เทือกเขาตะนาวศรี สำหรับในประเทศไทย มีทางภาคใต้ ภาคตะวันตกเฉียงใต้ ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงใต้

นกกระเต็นหัวดำ


นกกระเต็นหัวดำ
ชื่อสามัญ
Black-capped Kingfisher
ชื่อวิทยาศาสตร์
Halcyon pileata
วงศ์ Alcidinidae
ลักษณะทั่วไป
บนหัวและข้างๆแก้มตลอดจนถึงท้ายทอยมีสีดำ โคนปีกและปลายปีกมีสีดำ คางมีสีขาว รอบคอมีสีขาว บนหลัง บนปีกตลอดไปจนถึงบนหางมีสีน้ำเงินสด หน้าอกมีสีน้ำตาลอ่อน และมีสีเข้มขึ้นทางด้านใต้ท้อง ปากใหญ่และมีสีแดงสด ตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะเหมือนกัน
ถิ่นที่อยู่อาศัย
ไต้หวัน, ไหหลำ, เกาหลี, ฟิลิปปินส์, อินเดีย, บอร์เนียว, สุมาตรา, ซีลีเบส, พม่า, อันดามันส์, ฮ่องกง, ลาว, เทือกเขาตะนาวศรี, และประเทศต่างๆในแหลมอินโดจีน ในประเทศไทยมีทั่วไปทุกภาค

นกจาบคาหัวเขียว


นกจาบคาหัวเขียว
ชื่อสามัญ Blue-tailed Bee-ester
วงศ์ Meropidac
ลักษณะทั่วไป

ทั้งตัวผู้และตัวเมียเหมือนกัน ปากสีดำไม่โค้งแหลมมากนัก หัวหลังและขนคลุมหลังตลอดจนปีกเป็นสีเขียวครึ่งของหลัง ขนคลุมโคนหางและหางเป็นสีน้ำเงิน มีขนคู่กลางของหางแหลมยื่นยาวออกไปประมาณครึ่งหนึ่งของหาง บริเวณแถบหน้าของตาและหลังของตาเป็นแถบสีดำ ม่านตาสีน้ำตาลแดง ถัดขอบตาลงมาเป็นสีขาวอมเหลือง ใต้คอเลยหน้าอกนิดๆเป็นสีน้ำตาล ท้องสีเขียวอ่อน ตีนดำ เวลาบินรูปปีกจะมีลักษณะคล้ายรูปสามเหลี่ยม ใต้ปีกเป็นสีน้ำตาล กึ่งบินกึ่งร่อน ขณะบินส่งเสียงร้องกริ๊วๆๆไปด้วย ชาวบ้านจึงชอบเรียก "นกกะติ้ว" ขนาดประมาณ 30 ซม.เมื่อโตเต็มวัยจากปลายปากถึงปลายหาง จะเจาะรูทำรังอยู่ริ่มตลิ่งที่ค่อนข้างสูงชันมีลักษณะดินปนทราย ลึกประมาณ 60 ซม. 90 ซม. วางไข่ประมาณ 2 - 4 ฟอง ทั้งตัวผู้และตัวเมียจะช่วยกันหาอาหารมาป้อนลูก อาหารจะเป็นพวกแมลงที่บินอยู่กลางอากาศ เช่น แมลงปอ ผีเสื้อ จะไม่กินอาหารหรือแมลงที่ตายแล้วหรืออยู่กับที่
ถิ่นที่อยู่อาศัย
เนปาล, อินเดีย, ศรีลังกาและไทย สำหรับประเทศไทยมีทั้งนกอพยพและนกประจำถิ่น ในส่วนบริเวณภาคกลางและริมฝั่งแม่น้ำแควน้อยจะเป็นนกประจำถิ่น แต่สำหรับทางภาคเหนือจะเป็นนกที่อพยพเข้ามาหากิน และผสมพันธุ์ ส่วนภาคอื่นหรือบางส่วนก็จะหากินสักพักแล้วอพยพผ่านไป

การเลี้ยงช้าง



การเลี้ยงช้าง
เมื่อฝึกช้างจนเชื่อฟังมีความเข้าใจคำสั่งแล้วการเลี้ยงช้างนั้นให้มีความสุขให้รักเจ้าของเชื่อฟังไม่ทำร้ายเจ้าของก็เป็นสิ่งสำคัญที่ชาวกวยบ้านตากลางต้องให้ความสำคัญ เพราะควาญช้างผู้ดูแลเลี้ยงช้างต้องใช้เวลาส่วนใหญ่ในแต่ละวันไปกับช้างเปรียบเสมือนการใช้ชีวิตกับคู่สมรส แต่ที่ต่างกันก็คือความเสี่ยงที่ควาญช้างทุกคนต้องตระหนักเมื่อคิดจะเลี้ยงช้าง เพราะถ้าพลั้งเผลอไปหรือหากช้างไม่พอใจ หรือแม้แต่ช้างตกใจก็อาจถูกช้างฆ่าตายได้ในชั่วพริบตา ดังนั้นชาวบ้านตากลางที่จะเลี้ยงช้างช้างจึงจำเป็นจะต้องเป็นคนที่มีคุณสมบัติหลายประการ คือ รักสัตว์ มีความกล้าหาญ มีความขยันอดทนและต้องเป็นคนที่ช่างสังเกต นอกจากนี้ช้างยังเป็นสัตว์พิเศษที่จะเชื่อฟังและยอมรับเฉพาะควาญผู้ใกล้ชิด แต่จะไม่ยอมรับทุกคนเหมือนกับสัตว์เลี้ยงทั่วไปในบ้านอย่างสุนัขหรือแมว เพราะช้างนั้นจะยอมรับและทำตามคำสั่งเฉพาะควาญที่เลี้ยงเขา ซึ่งเรื่องนี้เป็นศาสตร์และศิลป์ที่ผู้ชายชาวตากลางได้รับการถ่ายทอดกันมาจากรุ่นหนึ่งสู่อีกรุ่นหนึ่งอย่างไม่ขาดสาย
การควบคุมช้างด้วยสัมผัส
ผู้ขี่ช้างสามารถใช้ร่างกายที่สัมผัสกันกับช้างสื่อให้ช้างรู้ถึงความต้องการของผู้ขี่ได้ ซึ่งทั้งหมดต้องฝึกให้ช้างตอบสนองตั้งแต่แรกฝึกเหมือนกับการใช้คำสั่งด้วยเสียง เช่น เมื่อต้องการเลี้ยวซ้ายหรือขวาควาญอาจใช้การบิดตัวไปทางซ้ายหรือขวาโดยใช้ปลายเท้าข้างตรงข้ามจิกไปที่หลังใบหูข้างฝั่งตรงข้ามที่จะให้ช้างเลี้ยว หรือถ้าต้องการให้ช้างหยุด ให้ใช้ขาหนีบคอช้าง กดส้นเท้าไปที่ต้นขาหน้าของช้าง เป็นต้น
การเลี้ยงช้างในภูมิประเทศ
ในทุกเช้าตามหมู่บ้านเลี้ยงช้างริมแม่มูลหนุ่ม ๆ ชาวกวยจะพากันขี่ช้างออกไปเลี้ยงกันตั้งแต่เช้าตรู่ โดยมุ่งไปที่พื้นที่ป่าธรรมชาติรอบ ๆ หมู่บ้านหรือป่าทามริมน้ำมูล การเลี้ยงช้างของชาวกวยมีอยู่หลายวิธีชาวกวยจะพิจารณาเลือกใช้แล้วแต่สภาพแหล่งอาหารเป็นหลัก
อุปกรณ์ในการเลี้ยงช้าง
การยึดอาชีพเลี้ยงช้างนั้นใช่ว่าจะรู้แต่เรื่องหาอาหารหรือวิธีควบคุมช้างเท่านั้น ในยามว่างผู้ที่เป็นควาญช้างที่ดียังต้องคอยตรวจสอบอุปกรณ์เครื่องใช้ในการเลี้ยงช้างให้อยู่ในสภาพที่ใช้การได้ดีอยู่เสมออุปกรณ์หลักที่ใช้ในการเลี้ยงช้างได้แก่ โซ่ ใช้ผูกล่ามช้างกับหลักหรือต้นไม้ โซ่จะมีขนาดเล็กหรือใหญ่แล้วแต่ช้างที่จะใช้ล่ามปลอกเหล็ก ทำจากโซ่ขนาดความยาวพอที่จะโอบมัดเท้าทั้งสองของช้างได้ เวลาใช้จะเอาสะเก็นคล้องไว้ตรงกลางเพื่อให้ขาทั้งสองของช้างติดกันทำให้ช้างเดินไม่ถนัดและไปได้ไม่ไกลจากที่ปล่อยนักสะเก็น เป็นโลหะรูปตัวยูในภาษาอังกฤษปลายขาตัวยูทำเป็นรูสกลูมีน๊อตยาวขันเชื่อมขาตัวยูทั้งสองเข้าด้วยกัน กาหรั่น เป็นโลหะรูปร่างคล้ายเครื่องหมายปรัศนีมีห่วงอยู่ทั้งสองด้านและทั้งสองด้านสามารถหมุนเบ็นอิสระจากกันใช้ผูกล่ามช้างเพื่อไม่ให้โซ่บิดเกลียวขอ หรือตะขอเป็นอุปกรณ์สำคัญในการสื่อสารควบคุมบังคับหรือทำโทษช้างขอจะประกอบด้วยสองส่วนคือ ส่วนปลายและส่วนที่เป็นด้าม

ม้า


ม้า (ชื่อวิทยาศาสตร์ Equus caballus หรือ Equus ferus caballus)
เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมซึ่งมีความหลากหลายทางสายพันธุ์ที่ถูกมนุษย์นำมาเลี้ยงและถูกใช้ในกิจกรรมการเดินทางขนส่ง การทหาร กีฬา สันทนาการและอาจจะใช้เป็นอาหารของมนุษย์ในบางวัฒนธรรมมานานนับพันปีแล้ว ปัจจุบันบทบาทของม้าถูกแทนที่ด้วยยานพาหนะแบบใหม่จน บทบาทลดลงไปเหลือเพียงทางกีฬาและสันทนาการโดยส่วนใหญ่ ตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบันเราจะเห็นม้าเป็นสัญลักษณ์ที่ควบคู่กับคาวบอย

การอนุรักษ์หมีแพนด้า


แพนด้ามีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ailuropoda melanoleuca ซึ่งแปลว่าสัตว์ที่มีเท้ามีสีขาว-ดำเหมือนแมว เป็นสัตว์ที่พบใน ประเทศจีนเท่านั้นและคนจีนเรียกแพนด้าว่า Da xiong mao ซึ่งหมายถึงหมีแมวที่มีขนาดใหญ่ นักชีววิทยาสัตว์ดึกดำบรรพ์ ได้พบหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าบรรพสัตว์ของแพนด้าได้เคยมีชีวิตอยู่บนโลกเมื่อ 3 ล้านปีก่อนนี้ และประวัติศาสตร์จีนก็ได้เคยบันทึกว่า เมื่อ 3,000 ปีมาแล้ว ในสมัยของราชวงศ์ Zhou ได้มีการกล่าวถึงหมีแพนด้าว่า มีถิ่นอาศัยอยู่ในแถบภูเขา Qionglai ของมณฑล Yandao
ณ วันนี้ โลกมีแพนด้าเหลืออยู่เพียงประมาณ 1,000 ตัวเท่านั้นเอง และ 20 ตัว อาศัยอยู่ในสวนสัตว์นอกประเทศจีน ส่วนที่เหลืออยู่ ในสวนสัตว์จีนบ้างและอยู่ในป่าบ้าง โดยเฉพาะในบริเวณจีนตอนกลางที่มีภูเขาสูง ที่ที่มันชอบอยู่คือที่ระดับความสูง 1,500-3,000 เมตร ซึ่งมีเมฆหมอกปกคลุมตลอดเวลา
มันชอบกินไผ่และลำต้นไผ่เป็นอาหารประมาณวันละ 10-20 กิโลกรัม เพราะใบ ไผ่มีคาร์โบไฮเดรท โปรตีน และเกลือแร่มากกว่าต้นไผ่ ดังนั้นการไร้ซึ่งใบไผ่ จะทำให้มันไร้ซึ่งชีวิตด้วย ตามปกติแพนด้าไม่ใช่สัตว์กินพืชแต่เป็นสัตว์กินเนื้อ แต่เมื่อมันเป็นสัตว์ที่เชื่องช้า การไล่ล่าจับสัตว์อื่นเป็นอาหารจึงทำได้ยาก ดังนั้น มันจึงหันมาบริโภคพืชแทน แพนด้าชอบน้ำผึ้งเหมือนสัตว์ตระกูลหมีชนิดอื่นๆ และใช้เวลาหาอาหารวันละประมาณ 14 ชั่วโมง ส่วนอีก 10 ชั่วโมงที่เหลือ เป็นเวลานอน

การเลี้ยงแพะ


แพะ เป็นสัตว์เลี้ยงที่น่าส่งเสริมให้เกษตรกรเลี้ยงเช่นเดียวกับสัตว์ชนิดอื่น เพราะแพะมีเลี้ยงง่าย ขยายพันธุ์ได้เร็ว และมีข้อดีอื่นๆ อีกมาก เช่น
1. แพะเป็นผลผลิตทั้งเนื้อและนม มีขนาดเล็ก ทำให้ผู้หญิงหรือเด็กสามารถให้การดูแลได้
2. แพะเป็นสัตว์ที่หาอาหารกินเองได้เก่ง กินอาหารได้หลายชนิด ดังนั้นถึงแม้ฤดูแล้ง แพะก็สามารถหาวัชพืชที่โค-กระบือกิน กินเป็นอาหาร
3. แพะมีการเจริญเติบโตเป็นหนุ่มเป็นสาวได้เร็ว สามารถผสมพันธุ์แพะได้ตั้งแต่อายุเพียง 8 เดือน
4. แพะมีความสมบูรณ์พันธุ์สูง แม่แพะมักคลอดลูกแฝด และใช้ระยะเวลาเลี้ยงลูกสั้น จึงทำให้ตั้งท้องได้ใหม่ 5. แพะเป็นสัตว์ที่ใช้พื้นที่ในการเลี้ยงเพียงเล็กน้อย ทั้งพื้นที่โรงเรือนและพื้นที่สำหรับเพาะปลูกพืชอาหารสัตว์ สำหรับแพะ
6. แพะเป็นสัตว์ที่สามารถปรับเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี ความทนต่อสภาพอากาศแล้ง และร้อนได้ดี
7. แพะเป็นสัตว์ที่ใช้เป็นอาหารบริโภคสำหรับประชาชนของทุกศาสนาเพราะไม่มีศาสนาใดห้ามบริโภคเนื้อแพะ

ลา Donkey


ลา สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
Donkey
ชื่อทางวิทยาศาสตร์:
Equus sp
ลักษณะทั่วไป
มีหัวขนาดใหญ่ หูยาว สูงประมาณ 1.5 เมตร ลำตัวมีสีหลากหลายเช่น สีเทา น้ำตาล ดำ ส่วนที่ใต้ท้องมีสีขาว
ถิ่นอาศัย, อาหาร
พบในทวีปแอฟริกา
อาหารของลาคือหญ้า และเมล็ดพืช
พฤติกรรม, การสืบพันธุ์
ลาผสมพันธุ์ได้เมื่อมีอายุ 2 ปี ออกลูกครั้งละ 1 ตัว มีอายุยืนราว 10 ปี