คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

แผนที่มหาสารคามสู่สุรินทร์


ดู มหาสารคามสู่สุรินทร์ ในแผนที่ขนาดใหญ่กว่า

สวนดอกไม้ที่มมส.ค่ะ

My pictures

สุริวรรณ

เพลงที่ชอบ

วันพฤหัสบดีที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2553

อูฐ


อูฐในโลกแบ่งตามรูปร่างได้ 2 พวกใหญ่ๆ คือ พวกที่มีโหนกบนหลังโหนกเดียว ที่เรียกง่ายๆ ว่า อูฐอาหรับ มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Camelus dromedarius มีอยู่ในแอฟริกาและอาราเบีย จนถึงอัฟกานิสถาน อีกพวกหนึ่งคือมีโหนกบนหลัง 2 โหนก เรียกง่ายๆว่า อูฐแบกเทรียน มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Camelus bactrianusพบอยู่เฉพาะในทวีปเอเชียตอนกลางอูฐแท้ๆ นั้นจะมีอยู่เฉพาะแต่เขตร้อนเท่านั้น แต่มีสัตว์สืบสายตระกูลเดียวกัน เรียกว่า ลามา (Llama) ซึ่งจะไม่อยู่ในที่ร้อน จะชอบอยู่ตามที่ราบสูงๆ อากาศจะหนาว ดังนั้นมันจึงมีขนยาวทั่วตัวลักษณะเท้าของอูฐนั้นจะแบน และอ่อนนุ่มเพื่อเดินได้สะดวกบนทราย เท้าของมันมีเล็บ 2 เล็บ และริมฝีปากของมันแบ่งเป็น 2 ซีก ขวาและซ้าย คล้ายๆ กับริมฝีปากของกระต่าย จมูกของมันจะมีกล้ามเนื้อปิดเปิดรูจมูกได้พอพายุพัดทรายเข้ามา มันก็ปิดรูจมูกเสีย ไม่ให้ทรายเข้าไป หนังตาของมันก็จะหนาเป็นพิเศษ ป้องกันฝุ่นทรายไม่ให้เข้าตาได้ดีลักษณะโหนกบนหลังอูฐนั้นจะนิ่มเป็นก้อนเนื้อ ถ้ามันกินอาหารอย่างสมบูรณ์ โหนกของมันก็จะสูงขึ้นและใหญ่ขึ้น และถ้าหากให้อดอาหารนานๆ โหนกของมันก็จะหดเล็กลง อาหารที่มันชอบกินคือ พวกใบไม้ในอัฟริกาหรือในอาราเบีย เขาจะใช้มันบรรทุกสินค้าจากเมืองหนึ่งไปอีกเมืองหนึ่ง อูฐตัวหนึ่งสามารถบรรทุกของได้ราว 500-600 ปอนด์ อูฐบางชนิดใช้สำหรับเดินทางไกล คือไปได้เร็วกว่าคนราว 2-3 เท่า และเดินทนตลอดทั้งกลางวันและกลางคืน วันหนึ่งๆ มันเดินทางได้ไกล 70-80 ไมล์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น