คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

แผนที่มหาสารคามสู่สุรินทร์


ดู มหาสารคามสู่สุรินทร์ ในแผนที่ขนาดใหญ่กว่า

สวนดอกไม้ที่มมส.ค่ะ

My pictures

สุริวรรณ

เพลงที่ชอบ

วันเสาร์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2553

ปลาปักเป้า


ปลาปักเป้า

หรือ Puffer fish เป็นปลาที่หาได้ในน้ำจืดและ น้ำเค็ม พบได้ทั่วไปในประเทศที่มีอากาศร้อนและอบอุ่น ในประเทศไทย พบปลาปักเป้าน้ำจืดได้ตามแหล่งน้ำต่าง ๆ เช่นตามหนอง คลอง บึงและตามแม่น้ำ สายต่าง ๆ ที่พบเห็นคือ ปลาปักเป้าเขียว ปลาปักเป้าเหลืองปลาปักเป้าทอง ส่วนปลาปักเป้าหนามทุเรียน ปลาปักเป้าหลังแดง ปลาปักเป้าหลังแก้ว ปลาปักเป้าดาว ฯลฯ เป็นปลาปักเป้าทะเล พบได้ในอ่าวไทยปลาปักเป้าเป็นปลาที่มีขนาดปานกลางถึงขนาดใหญ่ ยาวประมาณ 10-40 เซนติเมตร พบทั้งในน้ำจืดและน้ำทะเล มีลักษณะเฉพาะตัว คือ ลำตัวกลม ยาว หัวโต และปากเล็ก บางชนิดมีฟันและปากคล้ายนกแก้ว ครีบอกและครีบหางใหญ่ ครีบหลังและครีบกันเล็ก หนังเหนียว ส่วนมากมีตุ่ม หรือหนามกระจายทั่วตัว ปลาปักเป้าจะพองตัวเมื่อตกใจหรือถูกรบกวน มักอาศัยอยู่ตามท้องทะเลที่เป็นทรายหรือทรายปนโคลน


แมงกระพรุน


แมงกะพรุน
แมงกะพรุนเป็นสัตว์ประเภทหนึ่งที่ไม่มีกระดูกสันหลัง ส่วนใหญ่จะอยู่ในทะเล แต่ก็มีบางชนิดที่อยู่ในน้ำจืด แมงกะพรุนเป็นสัตว์ในพวกเดียวกับปะการัง มีเซลล์ที่ใช้ต่อยและมีพิษมากกว่าปะการังมากด้วย แมงกะพรุนบางชนิดอาจทำให้ผู้ถูกต่อยถึงช็อคเสียชีวิตได้ แม้จะพบแมงกระพรุนตายติดตามชายหาดก็ไม่สมควรจะนำมาเล่น เพราะพิษยังอาจจะมีอยู่และทำให้เกิดอันตรายได้ เมื่อถูกแมงกะพรุนอาจจะมีสายหนวดของแมงกะพรุนติดอยู่ ต้องรีบแกะออกโดยเร็ว แต่อย่าใช้มิเปล่าเพราะมือจะถูกต่อยได้ด้วย ให้ใช้ผ้าหนา ๆ เศษไม้ ทรายแห้ง ๆ หรือแป้งผงถูเบา ๆ ให้หลุดออก อย่าถูแรงเพราะถุงบางอันยังไม่คายพิษ ถ้าถูแรงจะทำให้พิษถูกปล่อยออกมาเพิ่มขึ้น แล้วล้างบริเวณนั้นเบา ๆ ด้วยน้ำทะเล น้ำมันแอลกอฮอล์ แอมโมเนีย หรือโลชั่นที่หาได้ใกล้ตัว ชาวบ้านใช้ผักบุ้งทะเล ทั้งนี้ทำให้สภาพพิษซึ่งส่วนใหญ่เป็นโปรตีนเสื่อมลง เมื่อถูกแมงกะพรุนแล้วให้ขึ้นจากน้ำทันที เพราะถ้าเกิดอาการรุนแรงจะทำให้จมน้ำตายได้

ปูเสฉวนบก


ปูเสฉวนบก (Land hermit crab)

เป็นปูเสฉวนในสกุล Coenobita มีทั้งหมด 15 ชนิด ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 5 นิ้ว มีรูปร่างหน้าตาคล้ายปูเสฉวนทั่วไป และอาศัยอยู่ในเปลือกหอย แต่ไม่สามารถที่จะอาศัยอยู่ในน้ำได้ เนื่องจากระบบการหายใจถูกพัฒนาให้รับออกซิเจนโดยตรง ถ้าลงไปในน้ำจะสำลักน้ำตายได้เหมือนปูมะพร้าว (Birgus latro) แต่จะลงไปกินน้ำทะเลเพื่อต้องการเกลือแร่ อีกทั้งยังต้องการน้ำจืดอีกด้วย
ปูเสฉวนบกมีถิ่นกำเนิดที่
ทวีปอเมริกาเหนือ, ทะเลแคริบเบียน, หมู่เกาะเบอร์มิวดา, ออสเตรเลียและอินโดนีเซีย จะอาศัยอยู่บนบกหรือในป่าริมชายทะเล กินอาหารจำพวกซากพืช ซากสัตว์เหมือนปูเสฉวนทั่วไป
ปัจจุบันปูเสฉวนบกกำลังได้รับความนิยมในฐานะเป็นสัตว์เลี้ยง โดยเฉพาะใน
สหรัฐอเมริกา ซึ่งผู้เลี้ยงนิยมใช้สีทาบนเปลือกหอยให้เป็นสีสันและลวดลายต่าง ๆ แต่เป็นปูที่ค่อนข้างมีความยุ่งยากในการเลี้ยง เนื่องจากถึงแม้ว่าจะอาศัยอยู่บนบกก็ตาม แต่ในสถานที่เลี้ยงต้องใช้ความชุ่มชื้นด้วย และปูพื้นด้วยกรวดทรายและขอนไม้ หรือมะพร้าวผุ และมีความจำเป็นต้องใช้แคลเซี่ยมเพื่อเป็นแร่ธาตุด้วย ไม่เช่นนั้นอาจตายได้


ม้าน้ำ


ม้าน้ำลักษณะพิเศษคือลำตัวไม่มีเกล็ดชื่อวิทยาศาสตร์ : Hippocampus kuda Bleekerชื่ออังกฤษ : Sea Horseวงศ์ : SYNGNATHIDAE ลักษณะโดยทั่วไป : ม้าน้ำเป็นสัตว์ที่มีฉายาว่า"นักอำพรางตัวยง" เพราะสามารถอำพรางตัวให้กลมกลืนกับสิ่งแวดล้อมที่อยู่ได้ ม้าน้ำเป็นสัตว์เลือดเย็น มีกระดูกสันหลัง หายใจทางเหงือก จัดอยู่ในกลุ่มปลาทะเลแต่มีรูปร่างแตกต่างไปจากปลาชนิดอื่น ๆ มากและมีวงจรชีวิตที่ต่างกัน ส่วนหัวจะมีลักษณะเหมือนม้าที่มีปากยาวยื่นออกไปเป็นท่อ ลำตัวปกคลุมด้วยเปลือกแข็งเป็นข้อ ๆ ขณะว่ายน้ำหรือเกาะกับที่จะตั้งลำตัวขึ้นและเอาส่วนท้องยื่นไปทางด้านหน้า ครีบหูบางใสอยู่ทางด้านหลังของแก้มและมีครีบหลัง 1 อัน ครีบหางไม่มีแต่ได้เปลี่ยนแปลงไปเป็นหาง ม้วนงอสำหรับเกี่ยวจับวัตถุในน้ำหรือเกาะกันขณะผสมพันธุ์ ความยาวของหางเมื่อเหยียดตรงจะยาวประมาณ 25 เซนติเมตร พื้นผิวลำตัวมีสีดำหรือสีเหลืองหรือม่วงและสามารถเปลี่ยนสีได้ ตัวผู้จะมีลักษณะที่ต่างจากตัวเมียคือมีถุงหน้าท้อง (brood pouch) สำหรับฟักไข่เป็นตัวและทำหน้าที่คลอดลูกแทนตัวเมีย ที่อยู่อาศัย:ม้าน้ำอาศัยอยู่ตามเสาโป๊ะหลักหอยแมลงภู่หรือตามดงสาหร่ายบริเวณชายฝั่งม้าน้ำที่พบบริเวณชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกของอ่าวไทย คาดว่าน่าจะมีอยู่ 4 ชนิดคือ 1. ม้าน้ำหนาม (H. spinosissimus )อาศัยอยู่ในบริเวณน้ำค่อนข้างลึก ใสสะอาด เป็นม้าน้ำที่มีสีสันสวยงาม สีออกน้ำตาลแดง มีลายจุดสีออกขาว เป็นแถบกว้างคาดบริเวณลำตัว มีหนามมากค่อนข้างแหลมและยาว เป็นที่ชื่นชอบของนักดำน้ำและนักสะสมของที่ระลึก


เครย์ฟิช..ล็อบสเตอร์น้ำจืด สัตว์เลี้ยงยอดฮิตของวััยรุ่น


เป็นกุ้งน้ำจืดจำพวกหนึ่ง มีลำตัวใหญ่ เปลือกหนา ก้ามใหญ่ และแข็งแรง แบ่งออกเป็น 2 วงศ์ใหญ่ๆ คือ Astacoidea และวงศ์ Parastacoidea
ถิ่นกำเนิดใน ทวีปอเมริกาเหนือ, ทวีปยุโรป ออสเตรเลีย และ เอเชียตะวันออก ปัจจุบันมีการอนุกรมวิธานแล้วกว่า 500 ชนิด…ลักษณะของเครย์ฟิช แบ่งออกได้เป็น 3 ส่วน คือ ส่วนหัว ส่วนกลาง และส่วนท้อง ซึ่งเป็นส่วนที่มีเนื้อเยอะมากที่สุด ลำตัวจะถูกหุ้มด้วยเปลือกใช้สำหรับป้องกันศัตรู และ มีอวัยวะหายใจลักษณะคล้ายขนนก อยู่ใกล้บริเวณปาก
ในส่วนของขานั้นแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ขาเดิน ซึ่งมีด้วยกันทั้งหมด 5 คู่ โดยคู่แรกนั้นถูกพัฒนาจนกลายเป็นก้าม ใช้สำหรับหยิบจับอาหาร ใช้ต่อสู้ และ ขาว่ายน้ำ จะมีลักษณะเป็นแผ่นบางๆ มีไว้สำหรับโบกน้ำที่มีออกซิเจนเข้าสู่ร่างกาย รวมทั้งโบกพัดแพลงก์ตอนเข้าหาตัวเพื่อกินเป็นอาหารอีกด้วย
มักอาศัยอยู่ตามแหล่งน้ำที่มี ลักษณะน้ำใสสะอาด มีออกซิเจนสูง โดยจะซ่อนตัวอยู่ตามขอนไม้หรือหินใต้น้ำ กินอาหารได้หลากหลายทั้งพืชและสัตว์ ออกหากินในเวลากลางคืน เมื่ออิ่มแล้วจะ เว้นระยะไปราว 1-2 วัน จึงออกหากินอีกครั้ง มีอาณาเขตของตัวเอง ประมาณ 40 เซนติเมตร
เครย์ฟิช…ในวัยอ่อน จะมีระยะการลอกคราบบ่อยครั้ง โดยจะมี อัตราเฉลี่ยอยู่ที่หนึ่งครั้งต่อหนึ่งเดือน เมื่ออายุได้ 1 ปี การลอก คราบจะ ลดลงเหลือเพียงปีละครั้ง ซึ่งแต่ละครั้งใช้ เวลานานราว 2-3 วัน กว่าเปลือกใหม่ที่ได้นั้นจะแข็งแรงเท่าเดิม บางครั้งมันอาจมีพฤติกรรม กินเปลือกตัวเอง ที่ลอกออก หรือของตัวอื่น เพราะต้องการแคลเซียมเพื่อสร้างเปลือกใหม่ให้แข็งแรง…
การจำแนกเพศนั้น ตัวผู้จะใหญ่กว่าตัวเมียอย่างเห็นได้ชัดเจน โดยจะมีอวัยวะสืบพันธุ์อยู่บริเวณโคนขาคู่สุดท้าย ส่วนตัวเมียจะมีอวัยวะสืบพันธุ์ลักษณะเป็นแผ่นวงรีสีขาว ขนาดประมาณ 1-2 มิลลิเมตร บริเวณขาเดินคู่ที่ 3 ในการผสมพันธุ์…ตัวผู้จะประกบตัวเมียจากด้านหลัง และพลิกท้องตัวเมียให้หงายแล้วตัวผู้จะเข้าประกบโดยใช้อวัยวะที่คล้ายตะขอนั้นจับตัวเมียในลักษณะท้องชนท้อง หันหัวไปในทางเดียวกัน ตัวผู้จะส่งผ่านถุงน้ำเชื้อไปปะติดไว้กับท้องของตัวเมีย
หลังจากนั้นเมื่อไข่ได้รับการปฏิสนธิจากน้ำเชื้อแล้ว ไข่จะฟักเป็นตัวในเวลาราว 3-4 สัปดาห์ โดยตัวเมียจะอุ้มไข่ไว้ในช่องท้อง ไข่มีลักษณะวงกลมสีดำคล้ายเมล็ดพริกไทยดำ ในการผสมพันธุ์แต่ละครั้งอาจได้ ลูกเครย์ฟิชมากถึง 300 ตัว
ปัจจุบันกลายเป็น…สัตว์เลี้ยงที่วัยรุ่นนิยม…นำมาเลี้ยงในตู้ปลา และมีการพัฒนาสายพันธุ์จนมีสีสันที่หลากหลาย เช่น สีฟ้า น้ำเงิน น้ำเงินเข้ม ขาว ส้ม และ แดงเข้ม เป็นต้น

‘ชินชิล่า’


ชินชิล่า’สัตว์ตระกูลฟันแทะ ขนปุย ชอบอากาศเย็นสบาย
เป็นสัตว์เมืองหนาว ลักษณะโดยทั่วไป หู จะกางใหญ่คล้ายหนู รูปร่างคล้ายกับกระต่าย ขน แน่นหนา มีหลากหลายสีสัน..
หลายวันก่อน “หลายชีวิต” ไปเดินตลาดนัดสวนจตุจักร โซนสัตว์เลี้ยงเพื่อ “อัพเดท” ข้อมูลว่าช่วงนี้เป็นอย่างไรแล้วก็ต้องยอมรับว่าที่นี่มี “สารพัดสัตว์” มากมายทั้งกลุ่ม “เลือดอุ่น” และ “เลือดเย็น” ที่เกิดในบ้านเรากับ “อิมพอร์ต” เข้ามาอย่างไม่ขาดสาย และ “ชินชิล่า” สัตว์ตระกูลฟันแทะที่กำลังเป็นขวัญใจวัยจ๊าบ ก็เป็นหนึ่งในจำนวนนี้
“ชินชิล่า” (Chinchilas) เป็นสัตว์เมืองหนาว มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ในเทือกเขา Andes แถบทวีปอเมริกาใต้ ซึ่งมี 2 ชนิดคือ Chinchilla brevicaudata กลุ่มนี้มีลักษณะหูและหางจะสั้น คอและไหล่จะหนา แต่ทว่าได้สูญพันธุ์ไปแล้ว
ส่วนชนิดที่ 2 คือ Chinchilla lanigera ยังสามารถพบได้ในป่าจำนวนเล็กน้อย แต่ก็นับว่าเป็นความโชคดีที่ปัจจุบันกลุ่มผู้เลี้ยงสามารถเพาะพันธุ์พวกมันได้เป็นผลสำเร็จ
สำหรับลักษณะโดยทั่วไป หู จะกางใหญ่คล้ายหนู รูปร่างคล้ายกับกระต่าย ขน แน่นหนา มีหลากหลายสีสันเช่น เทา เทาอ่อน ดำ เพื่อป้องกันตัวเองจากอากาศหนาวเย็นบนเทือกเขาสูง อุ้งเท้า ธรรมชาติสร้างมาเพื่อเหมาะต่อการเดินบนแผ่นหิน หาง ยาวเป็นพวงคล้ายกระรอก
ในธรรมชาติเป็นสัตว์สังคม รักความสงบอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ซึ่งความสามารถในการได้ยินนั้นใกล้เคียงกับคนเรามาก และหากพวกมันได้ยินการเคลื่อนไหวจากศัตรูตัวร้ายอย่าง เหยี่ยว สกังค์ แมวป่า และสัตว์กินเนื้ออื่นๆ จะส่งเสียงออกมาทั้งเห่า ร้อง และเสียงเอี๊ยดๆ คล้ายเสียงเปิดบานพับของประตู หรือหน้าต่าง เพื่อให้สมาชิกได้รับรู้
และ…ด้วยธรรมชาติที่เป็นสัตว์ฟันแทะ ดังนั้น จึงเป็นธรรมดาที่จะมี นิสัยซุกซน ซอกแซก ช่างสำรวจ ร่าเริง ขี้เล่น กระปรี้กระเปร่า คึกคักชอบกระโดด อยู่ตลอดเวลา ทำความสะอาดขนด้วยการกลิ้งไปมาบนทรายหรือฝุ่นหิน เพื่อไม่ให้มีกลิ่นตัว…
พวกมันจะพักผ่อนนอนหลับกลางวัน หลังตะวันเริ่มอ่อนแสงยามเย็นจะออกจากที่พัก ซึ่งเป็นโพรงหรือรอยแยกของหิน เพื่อออกหากินหญ้าแห้ง เมล็ดพืชเล็กๆ และแมลง เป็นอาหาร ซึ่งบางครั้งอาจเห็นร่องรอยการกัดแทะทิ้งประปราย นั่นก็เพราะมันกำลัง “ลับฟัน” ให้คมนั่นเอง
“ขนปุย” โตเต็มที่มีน้ำหนักตัวเฉลี่ยอยู่ที่ 400-600 กรัม ตัวเมียมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้ ซึ่งการจับคู่นั้น ฝ่ายหนุ่มจะเป็นผู้เลือกเอง

ปลาโลมา


โลมา อาศัยอยู่ กระจัด กระจาย ทั่วไป ใน มหาสมุทร นับร้อยชนิด แต่ที่เรารู้จัก กันดี มีอยู่ ๒ ชนิด คือ โลมาปากขวด กับ โลมาหัวบาตร โดยเฉพาะ ใน ประเทศไทย
บางครั้งยังพบโลมาอยู่ใน แม่น้ำอีกด้วย เช่น ในแม่น้ำ คงคาที่ประเทศอินเดีย และใน แม่น้ำโขง เป็นโลมาหัวบาตร น้ำจืด
โลมา มีอวัยวะต่างๆทุกๆ ส่วน เหมือนกับสัตว์เลี้ยงลูก ด้วยนมทั่วไป หากแต่ละส่วนของ อวัยวะ จะปรับเปลี่ยน ต่างไป จากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ทั่วไป ดังนี้
จมูกโลมามีจมูกไว้หายใจ แต่จมูกนั้นต่างไป จากจมูก ของสัตว์ อื่นๆ เพราะตั้งอยู่ กลาง กระหม่อม เลยทีเดียว เพื่อให้สะดวกต่อการ เชิด หัวขึ้น หายใจเหนือน้ำ จากจมูก มีท่อ หายใจ ต่อลงมา ถึงปอด ในตัว จึงไม่จำเป็น ต้องให้น้ำ ผ่านเหงือก เข้าไป ในปอด เพื่อช่วยหายใจ เหมือนปลาทั่วไป
หู หูของโลมานั้นเป็น เพียงแค่รูเล็กจิ๋วติดอยูด้าน ข้างของหัวเท่านั้น แต่หูของ โลมา มีประสิทธิภาพสูงมาก รับคลื่นเสียง ใต้น้ำ ได้อย่าง ยอดเยี่ยม โดยเฉพาะกับ ภาษา ที่โลมา สื่อสารกัน ด้วยเสียง ที่มี คลื่นความถี่สูง
การมองเห็นโลมามีดวงตา แจ่มใส เหมือนตา สัตว์เลี้ยงลูก ด้วยนม มีเปลือกตา ปิดได้ และในเวลา กลางคืน ตาก็จะเป็น ประกาย เหมือนตาแมว ตาของโลมา ไม่มีเมือกหุ้ม เหมือนตาปลา และมองเห็น ได้ไกลถึง ๕๐ ฟุต เมื่ออยู่ในอากาศ
สีผิวสีผิว ของโลมา แต่ละชนิด จะแตกต่างกัน ส่วนมาก จะออก ไปในโทน สีเทา ตั้งแต่เข้ม เกือบดำ จนกระทั่ง ถึงเกือบขาว แต่โดยทั่วไป ปลาโลมาจะมีสีผิว แบบทูโทนคัลเลอร์ คือมีสองสี ตัดกัน ด้านบน เป็นสีเทาเข็ม ด้านล่าง เป็นสีเกือบขาว เพื่อพรางตัว ในทะเล ไม่ให้ ศัตรูเห็น เพราะเมื่อ มองจาก ด้านบน สีเข็มจะกลืน กับสีน้ำทะเล และถ้า มองจาก ด้านล่าง ขึ้นไป สีขาว ก็จะกลืน เข้ากับ แสงแดด เหนือผิวน้ำ