คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

แผนที่มหาสารคามสู่สุรินทร์


ดู มหาสารคามสู่สุรินทร์ ในแผนที่ขนาดใหญ่กว่า

สวนดอกไม้ที่มมส.ค่ะ

My pictures

สุริวรรณ

เพลงที่ชอบ

วันพฤหัสบดีที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2553

นกยูง


นกยูงไทย สัตว์ปีก
Green Peafowl
ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Pavo muticus
ลักษณะทั่วไป
เป็นนกขนาดใหญ่มาก ความยาววัดจากปลายปากถึงปลายหางประมาณ 102 - 245 เซนติเมตร ทั้งเพศผู้และเพศเมียมีหงอนเป็นพู่สีเหลืองชี้ตรงอยู่บนหัว ต่างจากนกยูงอินเดียซึ่งเป็นรูปพัด บนหัวและคอเป็นขนสั้น ๆ สีเขียวเหลือบน้ำเงิน หน้ามีสีฟ้า ดำ และเหลือง ขนคอ หน้าอกและหลังตรงกลาง ขนมีเหลือบน้ำเงินแก่ล้อมด้วยสีเขียวและสีทองแดง นกยูงตัวผู้มีแพนขนปิดหางยาวหลายเส้น ตรงปลายมีดอกดวง "แววมยุรา" ตรงกลางดวงมีสีน้ำเงินแกมดำอยู่ภายในพื้นวงกลมเหลือบเขียว ล้อมรอบด้วยรูปไข่สีทองแดง เมื่อนกยูงรำแพนจึงเป็นรูปพัดขนาดใหญ่มีสีสันสวยงามมาก นกยูงตัวเมียมีขนาดเล็กกว่าตัวผู้เล็กน้อย และมีเดือยสั้นกว่า ขนของตัวเมียมักมีสีน้ำตาลแดงแทรกอยู่เป็นคลื่น
ถิ่นอาศัย, อาหาร
นกยูงมีการกระจายพันธุ์ในรัฐอัสสัม ประเทศอินเดีย ด้านตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศจีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเกาะชวา ในประเทศไทยพบในภาคเหนือและภาคตะวันตก
นกยูงกินทั้งพืชและสัตว์ ได้แก่ เมล็ดหญ้า เมล็ดของไม้ต้น ธัญพืช ผลไม้สุก แมลง ตัวหนอน ไส้เดือน งู และสัตว์ขนาดเล็ก
พฤติกรรม, การสืบพันธุ์
นกยูงอาศัยตามป่าทั่วไปในระดับความสูงไม่เกิน 1,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล พบอยู่เป็นฝูงเล็กๆ หลังช่วงฤดูผสมพันธุ์มักพบตัวเมียอยู่กับลูกตามลำพัง มักออกหากินในช่วงเช้าและบ่าย ตามชายป่าและริมลำธาร ตอนกลางคืนมักจับคอนนอนตามกิ่งไม้ค่อนข้างสูง
การเกี้ยวพาราสีกันของนกยูงเริ่มเมื่อนกยูงตัวเมียหากินเข้าไปดินแดนของนกตัวผู้ ตัวผู้จะร่วมเข้าไปหากินในฝูงด้วย และแสดงการรำแพนหาง กางปีกสองข้างออกพยุงลำตัว ชูคอขึ้นแล้วย่างก้าวเดินหมุนตัวไปรอบ ๆ ตัวเมีย การรำแพนหางจะใช้เวลาประมาณ 5 - 10 นาที หากตัวเมียพร้อมที่จะผสมพันธุ์จะย่อตัวลงให้ตัวผู้ขึ้นผสมพันธุ์ นกยูงทำรังบนพื้นดินตามที่โล่งหรือตามซุ้มกอพืช อาจมีหญ้าหรือใบไม้แห้งมารองรัง วางไข่ครั้งละ 3 - 6 ฟอง เริ่มฟักไข่หลังจากออกไข่ฟองสุดท้ายแล้ว โดยใช้เวลาฟักทั้งสิ้น 26 - 28 วัน ลูกนกแรกเกิดมีขนอุยคลุมทั่วตัว สามารถยืนและเดินตามแม่ไปหาอาหารได้ทันทีที่ขนแห้ง โดยลูกนกจะตามแม่ไปหากินไม่น้อยกว่า 6 เดือน จากนั้นจึงหากินตามลำพัง
สถานภาพปัจจุบัน
นกยูงในป่าธรรมชาติค่อนข้างหายาก และปริมาณน้อย นอกจากบางแห่ง เช่น เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ที่ยังพบได้บ่อย และปริมาณปานกลาง กฎหมายจัดให้นกยูงไทยเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535
สถานที่ชม
สวนสัตว์ดุสิต สวนสัตว์เปิดเขาเขียว สวนสัตว์เชียงใหม่ สวนสัตว์นครราชสีมา สวนสัตว์สงขลา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น