คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

แผนที่มหาสารคามสู่สุรินทร์


ดู มหาสารคามสู่สุรินทร์ ในแผนที่ขนาดใหญ่กว่า

สวนดอกไม้ที่มมส.ค่ะ

My pictures

สุริวรรณ

เพลงที่ชอบ

วันเสาร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2553

การเลี้ยงปลาอโรวาน่า


การเลี้ยงปลาอโรวาน่า
การเลี้ยงปลาให้โตเร็วมีปัจจัยสำคัญดังนี้

1. อาหาร อาหาร ควรเลือกอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง โดยเฉพาะคุณค่าทางโปรตีนและแคลเซียมซึ่งมีผลต่อการเจริญเติบโตของปลาโดยตรง ดังนั้นการให้อาหารโดยลูกกุ้งเป็น ๆ ดูจะให้ผลดีที่สุด การให้อาหารด้วยลูกปลาเป็น ๆ ก็มิใช่ว่าเป็นวิธีที่ปลอดภัยเสมอไป เพราะถ้าลูกปลาที่นำมาเป็นอาหารเกิดเป็นโรคระบาดหรือติดเชื้อ ก็อาจทำให้เชื้อโรคมาระบาดในตู้ปลาได้เช่นกัน โดยเฉพาะโรคเห็บ หนอนสมอรวมทั้งโรคครีบเน่าเปื่อย ดังนั้นจึงควรตรวจสอบดูสภาพของลูกปลาก่อนที่จะนำมาเป็นอาหารสำหรับปลาอโรวาน่าเพื่อความปลอดภัย
2. อากาศ อากาศ ดังที่กล่าวมาแล้วในข้างต้นว่าอากาศช่วยให้ปลามีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ เมื่อปลามีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ปลาก็จะกินเก่งและโตเร็ว ดังนั้นภายในตู้ปลาจึงควรเปิดเครื่องปั๊มออกซิเจนตลอด 24 ชั่วโมงเพื่อให้แน่ใจว่าภายในตู้มีอากาศเพียงพอสำหรับปลาเพื่อหายใจ
3. น้ำ ความสัมพันธ์ของน้ำที่มีต่อปลาได้อธิบายแล้วในหัวข้อข้างต้นดังนั้นวิธีปฏิบัติที่จะให้ผลดีก็คือท่านควรเปลี่ยนถ่ายน้ำในตู้ทุกเดือน เดือนละ 1-2 ครั้ง โดยการเปลี่ยนถ่ายน้ำในแต่ละครั้งไม่เกิน 20-30เปอร์เซ็นต์ จะสังเกตได้ว่าภายหลังจากที่มีการเปลี่ยนถ่ายน้ำปลาจะรู้สึกสดชื่นกระปรี้กระเปร่าขึ้นมาทันที
4. อุณหภูมิ การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิน้ำมีผลโดยตรงต่อการเจริญเติบโตของปลา เพราะถ้าอุณหภูมิของน้ำต่ำเกินไปปลาจะไม่ค่อยยอมกินอาหารและไม่ค่อยว่า ดังนั้นจึงควรรักษาอุณหภูมิของน้ำภายในตู้ปลาให้คงที่สม่ำเสมอ โดยการเปิดไฟตู้ปลา(ควรใช้หลอดเทียมแสงอาทิตย์)ไว้ตลอดเวลาเพื่อรักษา อุณหภูมิของน้ำเพื่อปลาจะได้รู้สึกเป็นปกติ
5. สภาพแวดล้อม ถ้าหากปลาถูกเลี้ยงไว้ในสภาพแวดล้อมที่ใกล้เคียงกับธรรมชาติมากเท่าไหร่ ปลาย่อมจะกินเก่งและโตวัยเท่านั้น เนื่องจากปลาไม่ตื่นที่ ปลาที่ตื่นตกใจบ่อยจะไม่ค่อยยอมกินอาหาร ดังนั้นในการเลี้ยงปลาจึงควรหลีกเลี่ยงเหตุการณ์ที่จะทำให้ปลาตกใจ
6.โรคภัย โรคภัยที่มาเบียดเบียนปลานับเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดที่ทำให้ปลาหยุดชะงักการเจริญเติบโต มีอยู่บ่อยครั้งที่ปลาดี ๆ สวย ๆ ต้องหยุดการเจริญเติบโตเนื่องจากถูกโรคภัยเบียดเบียน ดังนั้นจึงควรป้องกันไม่ให้ปลาป่วยเป็นโรคเป็นดีที่สุด ***

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น